Lomo School – The School for Analogue Photography
ลืมห้องเรียนที่เต็มไปด้วยความน่าเบื่อ แล้วมาเข้าเรียนที่โรงเรียน Lomography กัน! รับรองว่านี่จะเป็นการเข้าเรียนที่น่าตื่นเต้นมากที่สุดที่คุณเคยไป มาเรียนรู้ทุกอย่างตั้งแต่พื้นฐานการถ่ายภาพอนาล็อก ไปจนถึงเทคนิคระดับเซียนไปด้วยกันนะ
ถ้าคุณเป็นคนที่รักทุกสิ่งทุกอย่างของโลกอนาล็อก นี่เป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ ตั้งแต่การค้นหาคำแนะนำเกี่ยวกับพื้นฐานการถ่ายภาพอนาล็อก ไปจนถึงเคล็ดลับและเทคนิคพิเศษในการสร้างสรรค์ภาพในสไตล์ทดลองอันเป็นเอกลักษณ์ของ Lomography โดยเราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยจากคอมมิวนิตี้ของเราเอาไว้ท่ีนี่ แต่ถ้ายังไม่ได้คำตอบในสิ่งที่ต้องการ สามารถส่งอีเมลมาสอบถามเพิ่มเติมได้ทาง school@lomography.com เลยนะ เรารอข้อความของทุกคนอยู่ : )
เนื้อหาแนะนำ
เนื้อหายอดนิยม
หลักสูตรทั้งหมด
- การวาดภาพด้วยไฟและการใช้โหมดชัตเตอร์ B
- เรื่องราวเกี่ยวกับฟิล์มหมดอายุ
- ถ่ายภาพฟิล์มในที่แสงน้อย
- การถ่ายภาพด้วยกล้องรูเข็ม
- ประเภทของฟิล์มทั้งหมด
- การทำฟิล์มซุป
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การถ่ายภาพ
- Lomography คืออะไร
- การล้างฟิล์มด้วยตัวเอง
- การถ่ายภาพซ้อน
- การถ่ายภาพโดยใช้กล้อง Instant
- พื้นฐานการถ่ายภาพแบบอนาล็อก
- การสแกนฟิล์ม
-
เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากล้องฟิล์มที่มีอยู่ในสภาพดี
ไม่ว่าคุณจะซื้อกล้องฟิล์มมือสองหรือรับกล้องเก่าจากครอบครัวหรือเพื่อน คุณสามารถตรวจสอบอย่างรวดเร็วเพื่อดูว่ากล้องใช้งานได้และอยู่ในสภาพดีหรือไม่
-
ผู้ริเริ่มการถ่ายภาพคนแรกคือใคร
Joseph Nicéphore Niépce เป็นผู้ถ่ายภาพแรกโดยใช้กล้องแบบ Obscura ผ่านการถ่ายภาพจากหน้าต่างบ้านของเขา
-
การล้างฟิล์มด้วยตนเองถูกกว่าล้างที่แล็บไหม
ใช่แล้ว หากคุณล้างฟิล์มจำนวนมาก การล้างฟิล์มด้วยตัวเองจะมีต้นทุนที่ถูกกว่า
-
เคล็ดลับในการถ่ายภาพในที่แสงน้อยมีอะไรบ้าง
เคล็บลับในการถ่ายภาพในที่ที่แสงน้อย วันที่มืดครึ้ม ตอนกลางคืน หรือ่ถายภาพในร่ม มีหลายอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เลนส์ prime, ขาตั้งกล้อง และเครื่องวัดแสง
-
ฟิล์มหมดอายุนานแค่ไหนที่ยังสามารถใช้งานได้
ไม่มีกฎตายตัวเกี่ยวกับระยะเวลาของฟิล์มที่หมดอายุ ขึ้นอยู่กับการจัดเก็บ ซึ่งฟิล์มที่ถูกเก็บไว้ในที่ที่อุณหภูมิสูง เจอแดดจัดๆ หรือเจอความชื้น จะเสื่อมสภาพเร็วกว่าฟิล์มที่เก็บไว้ในที่ที่เย็น มืด และแห้ง
-
สามารถ push เพื่อถ่ายในที่แสงน้อยได้หรือไม่
การ push ฟิล์มสำหรับการถ่ายในที่ที่แสงน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยสองสามอย่าง รวมทั้งความมืดของสภาพแวดล้อมด้วย
-
ฟิล์มเก็บรักษาอย่างไร
ควรเก็บฟิล์มไว้ในที่ที่เย็น มืด และแห้ง ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยชะลอไม่ให้ฟิล์มเสื่อมสภาพได้ดีที่สุด
-
กล้องฟิล์มมีกี่ประเภท
ตั้งแต่ SLR ไปจนถึง TLR และกล้อง rangefinder ไปจนถึง Point-and-shoot – มาดูว่ากล้องประเภทต่างๆ เหล่านี้ทำงานอย่างไร
-
ทำกล้องรูเข็มใช้เองอย่างไร
วิธีการทำกล้องรูเข็มมีหลายวิธีเลย ตั้งแต่การใช้กล่องกระดาษแข็งไปจนถึงกระป๋องเบียร์ และวิธีการต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเบื้องต้นที่รวดเร็วมากที่สุด
-
กฎ Sunny 16 คืออะไร
กฎ Sunny 16 คือหลักการวัดแสงที่ถูกต้องในตอนกางวันโดยที่ไม่ต้องใช้ระบบวัดแสงของกล้อง เหมาะมากสำหรับผู้ที่ใช้กล้องที่ไม่มีระบบวัดแสง หรือผู้ที่ไม่อยากตั้งค่าระบบวัดแสงในแต่ละภาพ ซึ่งอาจจะทำให้ช้าได้
-
การวาดไฟ (light painting) คืออะไร
การวาดไฟ หรือ light painting (บางครั้งเรียกว่า light graffiti) เป็นเทคนิคที่ทำให้คุณสามารถสร้างลายเส้นของไฟหรือวาดไฟลงในภาพได้
-
ถ้าต้องการสแกนฟิล์มเนกาทีฟควรทำอย่างไรบ้าง
คุณจะต้องมีอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อสแกนฟิล์มของคุณ: กล้องดิจิทัลที่มาพร้อมเลนส์มาโครหรือสมาร์ตโฟน, ขาตั้งกล้อง, หน้ากากสแกนฟิล์มหรือตัวยึดฟิล์ม, เครื่องสแกนฟิล์มหรือเครื่องสแกนแบบ flatbed และโต๊ะไฟ/แผงไฟ หรือชุดสำหรับสแกนฟิล์มโดยเฉพาะ
-
ภาพถ่ายสไตล์โลโม่ (Lomographic) คืออะไร
Lomographic เป็นภาพถ่ายที่ยึดหลักกฎทองของ Lomography โดยผสมผสานเข้ากับเอกลักษณ์ของการถ่ายภาพบางอย่าง แต่ในปัจจุบัน Lomographic คือการถ่ายภาพที่เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ของแต่ละคน
-
ภาพถ่ายที่ overexpose และ underexpose คืออะไร
พูดง่ายๆ คำว่า overexpose คือการเปิดรับแสงมากเกินไปจนภาพออกมาสว่างกว่าความเป็นจริง ในขณะที่การเปิดรับแสงที่น้อยเกินความเป็นจริงจนทำให้ภาพมืดเรียกว่า underexpose
-
การถ่ายภาพซ้อนมีเทคนิคอะไรบ้าง
การถ่ายภาพซ้อนเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยดึงความคิดสร้างสรรค์ของการถ่ายภาพฟิล์มออกมาได้อย่างน่าสนใจ เราเลยมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยให้คุณถ่ายภาพซ้อนได้สนุกมากยิ่งขึ้นมาฝากกัน
-
การถ่ายภาพซ้อนคืออะไร
การถ่ายภาพซ้อน (หรือ MX) คือการถ่ายภาพซ้อนกันตั้งแต่สองภาพขึ้นไปในเฟรมเดียว โดยคุณสามารถถ่ายได้ง่ายๆ โดยใช้กล้องฟิล์มที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นภาพรถไฟที่วิ่งไปบนสวนดอกไม้ หรือภาพถ่ายของกลุ่มเพื่อนที่พาดไปบนตึกระฟ้าก็เป็นไอเดียวที่มีเสน่ห์และสร้างสรรค์มากๆ เลย
-
ฟิล์มแต่ละฟอร์แมตแตกต่างกันอย่างไร
ฟิล์มมีทั้งหมด 3 ฟอร์แมตหลักๆ ได้แก่ 35 มม., มีเดียมฟอร์แมต และ ลาร์จฟอร์แมต แต่นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีฟิล์มฟอร์แมตพิเศษอื่นๆ อีก เช่น 110 และ 127
-
ฟิล์มซุปสามารถส่งให้แล็บล้างฟิล์มล้างให้ได้หรือไม่
แล็บบ้างที่อาจจะรับล้างฟิล์มซุป แต่บางที่ก็อาจจะไม่รับเช่นกัน เพราะสารตกค้างจากฟิล์มซุปอาจทำให้อุปกรณ์สียหายได้
-
ฟิล์ม ISO น้อย ควรถ่ายภาพในสถานการณ์ไหน
ฟิล์ม ISO น้อยจะมีความไวแสงที่น้อยกว่า เพราะฉะนั้นควรถ่ายในที่ที่สว่าง เช่น ตอนกลางวันช่วงที่แดดจ้า
-
การถ่ายภาพเริ่มได้รับความนิยมเป็นวงกว้างตั้งแต่เมื่อไหร่
ในศตวรรษที่ 19 การถ่ายภาพเกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพถ่ายสงคราม, การถ่ายภาพบุคคล และภาพถ่ายสถาปัตยกรรม อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 การถ่ายภาพสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นโดยบุคคลทั่วไปด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น 35 มม. (หรือที่เรียกว่าฟิล์ม 135) 105, 110, 120, 126 และ 127
-
กล้องฟิล์มเริ่นต้นใช้งานครั้งแรกเมื่อใด
ฟิล์มถ่ายภาพพัฒนาโดย George Eastman ที่ได้นำแนวคิดของฟิล์มกระดาษมาใช้แทนฟิล์มกระจกเปียกในปี 1885
-
การถ่ายภาพสีเรื่มต้นเมื่อใด
การถ่ายภาพสีผ่านการทดลองมากมายในศตวรรษที่ 19 จนในปี 1861 ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการว่าภาพถ่ายสีชุดแรกของโลกคือภาพของ James Clerk Maxwell
-
เมื่อใช้ฟิล์ม ISO น้อย ภาพจะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง
การใช้ฟิล์ม ISO น้อย จะทำให้ภาพมีเกรนน้อยลงและมีคุณภาพสูงขึ้น เก็บรายละเอียดได้มากขึ้นเช่นกัน
-
ฟิล์ม ISO น้อย สามารถใช้ถ่ายตอนกลางคืนได้หรือไม่
ถึงฟิล์ม ISO น้อยจะควรใช้ตอนมีแสงจ้าเป็นหลัก แต่ก็ยังสามารถใช้ตอนกลางคืนได้ แค่ต้องใช้ไให้ถูกต้อง
-
ส่วนผสมที่เหมาะสำหรับการทำฟิล์มซุปมีอะไรบ้าง
การทำฟิล์มซุปไม่มีสูตรตายตัว แต่ส่วนใหญ่จะใช้ของเหลวเป็นหลัก ซึ่งหลายๆ คนจะเริ่มจากการใช้น้ำ, โคล่า, น้ำผลไม้, ไวน์, เบียร์, กาแฟ, น้ำยาคอนแทคเลนส์, น้ำส้มสายชู, ซีอิ๊ว และอื่นๆ
-
ฟิล์มซุปสามารถทำหลังจากล้างฟิล์มแล้วได้หรือไม่
คุณสามารถทำฟิล์มซุปหลังจากล้างฟิล์มแล้วได้
-
ฟิล์มซุปจะทำให้กล้องเสียหายหรือไม่
การทำฟิล์มซุปจะไม่ได้ทำให้กล้องเสียหาย หากฟิล์มที่ใช้แห้งสนิท
-
ฟิล์มซุปควรทำก่อนหรือหลังถ่ายภาพมากกว่า
การทำฟิล์มซุป สามารถทำได้ทั้งก่อนและหลังถ่ายภาพแล้ว ซึ่งทั้งสองแบบต้องปล่อยให้ฟิล์มแห้งสนิทเหมือนกัน
-
ฟิล์มซุปคืออะไร
ฟิล์มซุปเป็นเทคนิคการแช่ฟิล์มในของเหลวต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์ภาพที่มีเอกลักษณ์และเพิ่มเอฟเฟกต์ที่ไม่เหมือนใคร
-
เมื่อล้างฟิล์มแล้ว ควรทิ้งหรือกำจัดสารเคมีอย่างไร
ธีกำจัดสารเคมีที่ดีที่สุดคือทิ้งที่จุดรวบรวมขยะในเมืองของคุณ
-
ทำไมฟิล์มขาวดำจึงล้างง่ายกว่าฟิล์มสี
ชั้นตอนในการล้างฟิล์มสีมีความซับซ้อนกว่าฟิล์มขาวดำ และจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมตลอดเวลา
-
วิธีการล้างฟิล์มขาวดำด้วยตัวเอง
โหลดฟิล์มของคุณออกจากกลักในที่มืด เตรียมสารละลายต่างๆ ไว้ที่อุณหภูมิ 20℃ เทน้ำยาสร้างภาพตามระยะเวลาที่ต้องการ ล้างน้ำยาออก จากนั้นเทน้ำยาคงสภาพตามเวลาที่กำหนด แล้วล้างออกด้วยสารทำความสะอาดไฮโป จากนั้นตากให้แห้ง
-
การล้างฟิล์มสามารถล้างได้โดยไม่มีห้องมืดหรือไม่
สามารถล้างได้ แต่ต้องล้างในที่มืดอื่นๆ แทน
-
การล้างฟิล์มที่บ้านต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม: ถุงดำ, แท้งค์ล้างฟิล์ม, วงล้อใส่ฟิล์ม, น้ำยาสร้างภาพ, น้ำยาคงสภาพ, สารทำความสะอาดไฮโป, น้ำ, คลิปหนีบ, เครื่องจับเวลา, เทอร์โมมิเตอร์ และถ้วยตวง
-
เคล็ดลับที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพแสงนีออนบนฟิล์มคืออะไร
ใช้ฟิล์ม ISO สูง, ถ่ายภาพซ้อน และปรับการตั้งค่าให้เหมาะสม
-
แอปสำหรับวัดแสงที่ดีที่สุดมีอะไรบ้าง
นี่คือแอปวัดแสงที่ดีที่สุดบางส่วนสำหรับอุปกรณ์ iOS และ Android
-
เวลาโหลดฟิล์ม ต้องโหลดในที่มืดหรือไม่
ไม่จำเป็นต้องโหลดฟิล์มในที่มืด แต่การไปโหลดฟิล์มในที่แสงน้อยหรือในร่มหน่อย ก็เป็นวิธีที่เหมาะสมมากที่สุด
-
ขนาดรูเข็มที่เหมาะสมที่สุดคือเท่าไหร่
ขนาดรูเข็มที่เหมาะที่สุดสำหรับการสร้างกล้องรูเข็มขึ้นมาเองคือ 0.2 – 1.00 มม.
-
การถ่ายภาพด้วยกล้องรูเข็มต้องโฟกัสหรือไม่
กล้องรูเข็มไม่ต้องการการโฟกัส รูรับแสงขนาดเล็ก ทำให้กล้องมีระยะชัดลึกแบบไม่มีที่สิ้นสุดเลย
-
กล้องรูเข็ม (pinhole) และกล้องทาบเงา (obscura) แตกต่างกันอย่างไร
กล้องรูเข็มเป็นประเภทของกล้องทาบเงา ที่ตั้งชื่อตามเลนส์ที่สร้างขึ้นมาจากรูเข็มเล็กๆ
-
การใช้ฟิล์มหมดอายุ ควรถ่ายแบบ over หรือไม่
ใช่แล้ว เมื่อถ่ายภาพด้วยฟิล์มหมดอายุ คุณควรถ่ายให้ over เนื่องจากน้ำยาบนฟิล์มอาจจะเสื่อมสภาพลง ฟิล์มจะสูญเสียความไวแสง หมายความว่าต้องใช้แสงให้มากขึ้น เพื่อให้ได้ภาพที่มีแสงที่ถูกต้องมากที่สุด
-
ฟิล์มหมดอายุจะทำให้กล้องพังหรือไม่
ไม่เลย การใช้ฟิล์มหมดอายุไม่ได้มีอันตรายต่อตัวกล้อง
-
ล้างฟิล์มหมดอายุอย่างไร
ส่วนใหญ่จะสามารถล้างฟิล์มที่หมดอายุแล้วได้ตามปกติ เหมือนกับการล้างฟิล์มทั่วไป ไม่จำเป็นต้องปรับแต่งเป็นพิเศษ
-
ภาพได้จากฟิล์มหมดอายุมีลักษณะแบบใด
ภาพที่ถ่ายด้วยฟิล์มหมดอายุ มักจะมีเกรนที่โดดเด่น คอนทราสต์ไม่จัด และสีจะเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน
-
มีคำแนะนำสำหรับการถ่ายภาพด้วยฟิล์มหมดอายุหรือไม่
การถ่ายภาพด้วยฟิล์มหมดอายุมักจะคาดเดาไม่ได้ เนื่องจากเราไม่มีทางรู้ได้แน่ชัดว่าด้านในฟิล์มเสื่อมสภาพไปแล้วแค่ไหน แต่ก็มีขั้นตอนคร่าวๆ ที่สามารถทำเพื่อเพิ่มโอกาสให้ภาพถ่ายออกมาดียิ่งขึ้น
-
กล้องแบบ full-frame และ half-frame แตกต่างกันอย่างไร
กล้อง full-frame ให้ภาพขนาดเต็มเฟรม 36 มม. x 24 มม. ในขณะที่กล้อง half-frame จะถ่ายได้ 2 ภาพในเฟรมเดียว โดยแต่ละภาพมีขนาด 18 มม. x 24 มม.
-
ฟิล์มขนาด 35 มม. สามารถถ่ายได้กี่ภาพ
ฟิล์มขนาดาตรฐาน 35 มม. จะถ่ายภาพได้ 36 ภาพ แต่บางยี่ห้อก็อาจจะถ่ายได้ 24 ภาพ ขึ้นอยู่กับฟิล์มแต่ละรุ่น
-
ฟิล์ม 35 มม. แบบไหนที่เหมาะกับการถ่ายภาพซ้อนมากที่สุด
การถ่ายภาพซ้อนสามารถใช้ฟิล์มแบบไหนก็ได้ แต่เราแนะนำให้ใช้ฟิล์มขาวดำหรือฟิล์มสีกาทีฟแทนฟิล์มสไลด์ E-6 เพราะละติจูดการรับแสงที่กว้างกว่า ซึ่งหมายความว่าสามารถถ่ายภาพที่ over และ under ได้มากกว่า
-
ถ้าถ่ายฟิล์มในที่แสงน้อยควรตั้งค่าอย่างไร
การถ่ายภาพให้ออกมาดีในที่ที่แสงน้อยมีหลายวิธีเลย ทั้งการเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้น หรือตั้งสปีดชัตเตอร์ให้นานขึ้น รวมทั้งใช้แฟลชเพื่อทำให้วัตถุสว่างยิ่งขึ้นด้วย
-
ถ่ายภาพตอนกลางคืนโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องได้อย่างไร
เคล็ดลับที่จะทำให้ภาพของคุณออกมาดีโดยที่ไม่ต้องใช้ขาตั้งกล้องมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้แสงรอบๆ, การเลือกฟิล์ม ISO สูง, การ push ฟิล์ม, การใช้แฟลชเสริม และการใช้เลนส์ fast
-
การถ่ายภาพในที่แสงน้อยมีความยากอย่างไร
การถ่ายภาพในที่ที่แสงน้อยอาจจะมีปัญหานิดหน่อย เช่น การถ่ายภาพในร่ม, ในที่ที่ร่มเงาเยอะ, ใต้น้ำ หรือในเวลากลางคืน ทำให้ภาพอาจจะมืดได้
-
การถ่ายภาพฟิล์มตอนกลางคืน ควรเลือกฟิล์ม ISO เท่าไหร่
เมื่อจำเป็นต้องถ่ายภาพในที่ที่แสงน้อย เช่น ในอาคารหรือในเวลากลางคืน ความเลือกฟิล์มที่มีค่า ISO สูง เช่น ISO 400, 800 หรือ 1600
-
ทำไมช่างภาพบางคนถึงชอบใช้ฟิล์มหมดอายุ
ช่างภาพบางคนชอบใช้ฟิล์มหมดอายุ เพราะเอกลักษณ์ที่เหมือนใครของภาพที่ออกมา เมื่อถ่ายภาพด้วยฟิล์มที่เก็บไว้นานๆ คอนทราสต์จะลดลง เกรนเพิ่มขึ้
-
ฟิล์มหมดอายุสามารถใช้งานได้หรือไม่
ได้! เพราะฟิล์มบางตัวหมดอายุแล้วแต่ก็ยังให้ภาพที่สวยงามอยู่ โดยต้องขึ้นอยู่กับอายุของฟิล์ม รวมถึงการจัดเก็บด้วย
-
อนาล็อกและดิจิทัลแตกต่างกันอย่างไร
อนาล็อกและดิจิทัลเป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล ในเทคโนโลยีแบบอนาล็อก คลื่นหรือสัญญาณจะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบดั้งเดิม (เช่น ไวนิล ซึ่งมีการสลักร่องเพื่อสร้างคลื่นเสียงบนดิสก์) ในทางกลับกัน เทคโนโลยีดิจิทัล คลื่นหรือสัญญาณจะถูกแปลงเป็นตัวเลขและจัดเก็บเป็นรหัสบนอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น ฮาร์ดไดรฟ์ การ์ดหน่วยความจำ หรือคอมพิวเตอร์
-
เทคนิคการวาดไฟ (light painting) มีอะไรบ้าง
การวาดไฟไม่มีกฎอะไรพิเศษ แต่เรามีคำแนะนำเบื้องต้นมาฝากกัน
-
กล้องฟิล์มแบบ half-frame คืออะไร
กล้อง half-frame เป็นกล้องที่สามารถถ่ายภาพขนาด 18×24 มม. บนฟิล์ม 35 มม. ได้ถึง 72 ภาพ ทำให้คุณประหยัดฟิล์มได้มากเลย!
-
ถ้านำฟิล์ม Instax ออกจากตัวกล้องก่อนที่จะถ่ายหมดจะเกิดอะไรขึ้น
การนำกล่องที่มีฟิล์ม Instax ที่ยังถ่ายไม่หมดออกจากตัวกล้อง อาจจะทำให้ฟิล์ม Instax เสียหายได้ หรืออย่างน้อยจะใช้ไม่ได้หนึ่งภาพแรก โดยที่ฟิล์มใบอื่นๆ อาจจะยังใช้ได้อยู่ หรือบางใบอาจจะเกิดแสงรั่วได้
-
ภาพถ่าย Instant ควรจัดเก็บอย่างไร
เมื่อต้องการเก็บภาพถ่าย Instant คนส่วนมากจะเลือกเก็บไว้ในกล้องหรือในลิ้นชัก แต่ถ้าต้องการให้ภาพถ่ายของคุณอยู่ในสภาพที่ดีได้หลายๆ ปี เรามีขั้นตอนการก็บรักษามาฝากกัน
-
สแกนฟิล์ม Instant ได้อย่างไร
มีวิธีในการสแกนฟิล์ม Instant เป็นไฟล์ดิจิทัลมากมาย
-
คุณสมบัติของกล้อง Lomography Instant มีอะไรบ้าง
กล้องตระกูล Instant ของ Lomography มีคุณสมบัติสนุกๆ มากมาย ที่จะทำให้การถ่ายภาพ Instant ของคุณสร้างสรรค์ได้มากกว่าที่เคย ทั้งโหมดถ่ายภาพซ้อนไม่จำกัด, โหมดชัตเตอร์ B, รีโมตสำหรับลั่นชัตเตอร์ และเลนส์แก้ว
-
ฟิล์ม Instant แต่ละฟอร์แมตแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
กล้องตระกูล Instant ของ Lomography ทั้งหมดใช้ฟิล์ม Fujifilm Instax ซึ่งมีสามฟอร์แมตที่แตกต่างกัน ได้แก่ Instax Mini, Instax Square และ Instax Wide
-
LomoGraflok 4×5 Instant back คืออะไร
ฝาหลัง Instant Back ตัวแรกของโลก สำหรับกล้อง 4×5 ที่ใช้ฟิล์ม Fuji Instax Wide โดยภาพที่ได้จะเก็บรายละเอียดได้ดีและถ่ายระยะชัดตื้นออกมาได้อย่างดีเยี่ยม
-
การถ่ายภาพ Instant คืออะไร
การถ่ายภาพ Instant ทำให้คุณสามารถปรินต์ภาพออกมาได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วินาทีหลังจากกดถ่าย เนื่องจากฟิล์มแบบ Instant มีสารเคมีสำหรับการล้างฟิล์มอยู่ในแผ่นฟิล์มอยู่แล้ว
-
โบเก้คืออะไร
โบเก้คืออะไร
-
กล้อง Instant สามารถใช้โหมดการเปิดรับแสงนาน (long exposure) ได้อย่างไร
ในการถ่ายภาพด้วยกล้อง Instant โดยใช้โหมดการเปิดรับแสงนาน ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่ากล้องของคุณสามารถใช้โหมดชัตเตอร์ B หรือโหมดการเปิดรับแสงนานได้หรือไม่ ซึ่งกล้องตระกูล Instant ของ Lomography สามารถใช้งานในโหมดนี้ได้
-
กล้อง Lomography ตัวไหน สามารถถ่ายภาพรูเข็มได้บ้าง
กล้อง Lomography บางรุ่น มีฟังก์ชั่นการถ่ายภาพรูเข็ม เช่น Diana F+, Diana Instant Square, LomoMod No. 1 และ Diana Multi Pinhole Operator
-
ภาพถ่ายรูเข็มคืออะไร
ภาพถ่ายรูเข็มเป็นการถ่ายภาพที่ฉีกแนวออกไป แทนที่จะใช้เลนส์จริงๆ และมีระบบที่ซับซ้อน แต่ใช้เพียงแค่กล่องที่ปิดสนิทและช่องรูเข็มเล็กๆ (รูรับแสง) เพื่อจับแสงและถ่ายภาพ
-
ถ้าต้องการใช้เปิดการรับแสงนาน (long exposure) หรือวาดไฟ (light painting) ลงในภาพ ต้องทำอย่างไรบ้าง
ในการถ่ายภาพด้วยโหมดชัตเตอร์ B และการวาดภาพ คุณต้องใช้กล้องที่ม่ระบบแมนนวล หรือสามารถปรับโหมดชัตเตอร์ B ได้ รวมถึงต้องเตรียมขาตั้งกล้องและไฟฉายแบบพกพา
-
เมื่อต้องการวาดไฟ (light painting) ควรตั้งค่ากล้องอย่างไร
สำหรับการเริ่มต้นวาดไฟ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ากล้องอยู่ในโหมดการใช้งานแบบแมนนวลหรือโหมดชัตเตอร์ B แล้ว โดยคุณสามารถตั้งค่าชัตเตอร์ได้ตั้งแต่ 30 วินาที จนถึง 3 นาที ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการวาดอะไรลงในภาพ
-
การเปิดรับแสงนาน (long exposure) ควรใช้เวลานานเท่าไหร่ต่อภาพ
ในการเปิดรับแสงนาน คุณควรตั้งค่าชัตเตอร์ให้เปิดค้างไว้อย่างน้อย 2 วินาที โดยคุณอาจจะต้องเริ่มทดลองและค้นหาว่าเอฟเฟกต์ที่คุณต้องการสร้างควรเปิดรับแสงนานเท่าไหร่
-
กล้อง Lomography รุ่นไหนบ้างที่มีโหมดชัตเตอร์ B และสามารถวาดไฟได้
กล้อง Lomography ส่วนใหญ่มาพร้อมโหมดชัตเตอร์ B ซึ่งทำให้คุณสามารถเปิดรับแสงนานผ่านการกดปุ่มชัตเตอร์ค้างไว้ และกล้อง Lomography บางรุ่นยังมีสายลั่นชัตเตอร์อีกด้วย
-
การวาดไฟ (light painting) ควรเลือกใช้ฟิล์มแบบไหน
ฟิล์มทุกชนิดสามารถใช้วาดไฟได้ แต่โดยทั่วไปควรเลือกฟิล์ม ISO 400 หรือ 800 เนื่องจากสามารถถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดี
-
กล้อง Lomography รุ่นไหนเหมาะกับผู้เริ่มต้นมากที่สุด
กล้อง Lomography มีหลากหลายรุ่นให้เลือก ตั้งแต่กล้องที่มีความจริงจังไปจนถึงกล้องสไตล์การทดลอง ตั้งแต่กล้อง Simple Use Camera, Fisheye No. 2 35 mm Camera, Diana F+, the Lomo LC-A+ และ LomoApparat ทุกตัวล้วนเป็นกล้องที่จะทำให้คุณสนุกไปกับการถ่ายภาพอนาล็อก
-
LomoAmigo คืออะไร
LomoAmigo คือเหล่าช่างภาพและศิลปินที่เราร่วมงานด้วย ซึ่งพวกเขาได้ถ่ายทอดผลงานอันเป็นเอกลักษณ์ผ่านผลิตภัณฑ์ของเรา โดยที่เราจะเผยแพร่ผลงานของพวกเขาผ่านบทความในนิตยสารออนไลน์ของ Lomography
-
กล้อง Lomography ต่างจากกล้องฟิล์มทั่วไปอย่างไร
กล้อง Lomography ต่างจากกล้องฟิล์มยี่ห้ออื่นๆ ตรงที่เราคำนึงถึงความง่ายของการใช้งาน และการถ่ายภาพแนวทดลองสนุกๆ เป็นหลัก
-
สแกนฟิล์มได้ที่ไหนบ้าง
แล็บล้างฟิล์มส่วนใหญ่จะสามารถสแกนฟิล์มได้ด้วยเช่นกัน
-
สแกนฟิล์ม 120 ได้อย่างไร
เหมือนกับฟิล์มรูปแบบอื่นๆ คุณสามารถสแกนฟิล์ม 120 ได้โดยการใช้เครื่องสแกนฟิล์มแบบ flatbed, เครื่องสแกนฟิล์มโดยเฉพาะสำหรับฟิล์ม 120, จับคู่เครื่องสแกนฟิล์มกับหน้ากากสแกนฟิล์ม Lomography DigitaLIZA 120 หรือสแกนฟิล์มโดยใช้ชุดสแกนฟิล์ม DigitaLIZA+ และ DigitaLIZA MAX ที่มาพร้อมที่ยึดฟิล์ม 120 โดยเฉพาะ
-
วิธีการสแกนฟิล์มเนกาทีฟมีแบบไหนบ้าง
หากคุณต้องการสแกนฟิล์มด้วยตัวเอง เรามีวิธีการสแกนฟิล์มเนกาทีฟมาฝากกัน
-
สามารถสแกนฟิล์มผ่านสมาร์ตโฟนได้หรือไม่
คำตอบคือได้! คุณสามารถสแกนฟิล์มเนกาทีฟขนาด 35 มม. และ 120 โดยใช้สมาร์ตโฟนและชุดอุปกรณ์ Lomography DigitaLIZA Max คู่กับเว็บไซต์ออนไลน์สำหรับสแกนฟิล์มที่เราออกแบบมาโดยเฉพาะอย่าง Lomo DigitaLIZA LAB tool หรือแอปสแกนฟิล์มที่สามารถกลับสีภาพและปรับสีภาพได้ทั่วไป
-
สแกนภาพถ่ายพาโนราม่าอย่างไร
สามารถสแกนฟิล์มที่ถ่ายภาพพาโนราม่าได้ โดยใช้เครื่องสแกนแบบ flatbed, เครื่องสแกนฟิล์มมีเดียมฟอร์แมต, หน้ากากสำหรับสแกนฟิล์ม DigitaLIZA และชุดสแกนฟิล์ม DigitaLIZA
-
สแกนฟิล์มภาพซ้อนที่เหลื่อมกันได้อย่างไร
คุณสามารถสแกนฟิล์มที่ภาพเหลื่อมกันได้โดยใช้ตัวยึดฟิล์มหรือหน้ากากสแกนฟิล์ม, เครื่องสแกนฟิล์มโดยเฉพาะหรือเครื่องสแกนแบบ flatbed หรือชุดสแกนฟิล์มอย่าง DigitaLIZA+ และ DigitaLIZA MAX
-
สแกนฟิล์ม 110 ได้อย่างไร
สามารถสแกนฟิล์ม 110 ผ่านหน้ากากสแกนฟิล์ม DigitaLIZA 110 ของ Lomography หรือชุดสแกนฟิล์ม Lomography DigitaLIZA+ และ Digitaliza Max ได้เช่นกัน
-
สแกนฟิล์มติดหนามเตยหรือติดขอบฟิล์มอย่างไร
เหมือนกับการสแกนฟิล์มรูปแบบอื่นๆ สามารถสแกนฟิล์มติดหนามเตยหรือติดขอบฟิล์มได้โดยใช้เครื่องสแกนฟิล์ม flatbed, เครื่องสแกนฟิล์มโดยเฉพาะ หรือชุดสแกนฟิล์ม Lomography DigitaLIZA scanning
-
LomoHome คืออะไร
LomoHome คือเว็บไซต์ที่คุณสามารถแบ่งปันภาพถ่ายและแสดงออกถึงตัวตนของคุณผ่านทาง Lomography.com ซึ่งคุณสามารถอัปโหลดภาพถ่าย สร้างอัลบั้มภาพ และติดตามผลงานต่างๆ ของเพื่อนๆ ได้
-
Colorsplashing คืออะไร
Colorsplashing คือเทคนิคการใส่ฟิลเตอร์เข้ากับแฟลชสีขาวทั่วไป ซึ่งจะทำให้คุณสามารถย้อมสีภาพได้ตามต้องการ
-
การวัดแสงคืออะไร
การวัดแสงคือกระบวนการอ่านสภาพแสงก่อนถ่ายภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้ค่าแสงที่เหมาะสมมากที่สุด โดยต้องคำนึงถึงสปีดชัตเตอร์, รูรับแสง และ ISO
-
ภาพถ่ายแบบมาโคร (macro) คืออะไร
ถ้าต้องการถ่ายภาพระยะใกล้เป็นพิเศษ เข้ามาเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพแบบมาโครได้เลย
-
การถ่ายภาพมุมกว้าง (wide-angle) คืออะไร
ถ้าต้องการถ่ายภาพมุมมองใหม่ๆ การถ่ายภาพมุมกว้างเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้คุณมองโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป!
-
ช่วงเลนส์หรืออะไร
คุณสงสัยหรือไม่ว่าตัวเลขหรือหน่วยวัดบนเลนส์ของคุณหมายถึงอะไร มันคือตัวเลขของช่วงเลนส์ ซึ่งสามารถบอกลักษณะของภาพถ่ายที่จะออกมาได้
-
ระยะโฟกัสที่ใกล้ที่สุดคือเท่าไหร่
การโฟกัสเป็นส่วนสำคัญของการถ่ายภาพ เพราะเป็นสิ่งที่จะกำหนดว่าภาพที่ได้จะออกมาคมชัดหรือไม่ และแบบของคุณต้องแตกต่างจากพื้นหลัง โดยกล้องแต่ละตัวจะมีความสามารถในการโฟกัสที่แตกต่างกัน เลยเป็นเหตุผลว่าทำไมการเรียนรู้เรื่องระยะโฟกัสจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
-
การ push และ pull ฟิล์มคืออะไร
การ push หรือ pull ฟิล์มง่ายกว่าที่คิด
-
ฝาหลัง LomoGraflok 4×5 Instant สามารถถ่ายภาพซ้อนได้หรือไม่
การถ่ายภาพซ้อนด้วยฝาหลัง LomoGraflok 4×5 Instant ทำได้ไม่ยาก
-
กล้องฟิล์มสำหรับถ่ายภาพซ้อน รุ่นไหนดีที่สุด
กล้อง Lomography ส่วนใหญ่มีปุ่มถ่ายภาพซ้อนไม่จำกัด หรือ Multiple Exposure ซึ่งสังเกตได้จากไอคอน MX บนตัวกล้อง
-
กล้อง Simple Use สามารถถ่ายภาพซ้อนได้หรือไม่
ถึงแม้ว่ากล้อง Simple Use จะไม่มีปุ่มสำหรับถ่ายภาพซ้อนโดยเฉพาะ หลังจากถ่ายภาพแล้ว ปุ่มชัตเตอร์จะถูกล็อคจนกว่าคุณจะกรอฟิล์มสำหรับถ่ายภาพต่อไป แต่ไม่ต้องห่วงนะ เรายังมีวิธีที่ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพซ้อนได้อยู่
-
Film swap คืออะไร
Film swap คือการคนสองคนถ่ายภาพฟิล์มซ้อนในม้วนเดียวกัน โดยที่คนแรกจะถ่ายฟิล์มให้หมดม้วนก่อน จากนั้นกรอฟิล์ม แล้วค่อยส่งต่อให้คนที่สองถ่ายซ้อนทับลงไป
-
กล้อง Instant ใช้ถ่ายภาพซ้อนอย่างไร
กล้องตระกูล Lomography Instant มีปุ่มหรือสวิตช์สำหรับถ่ายภาพซ้อน (MX) ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพซ้อนได้ไม่จำกัดตามที่ต้องการ
-
กล้อง Lomography รุ่นไหนบ้างที่สามารถถ่ายภาพซ้อนไม่จำกัดได้
กล้อง Lomography ส่วนใหญ่สามารถถ่ายภาพซ้อนไม่จำกัดได้
-
ในหนึ่งเฟรม สามารถถ่ายภาพซ้อนได้กี่ภาพ
ในหนึ่งเฟรม ไม่มีการจำกัดปริมาณของภาพถ่ายที่ซ้อนกัน (ตราบใดที่คุณมีกล้องที่สามารถถ่ายภาพซ้อนได้)
-
รูรับแสงคืออะไร
ถ้าคุณเพิ่งเริ่มต้นใช้กล้องฟิล์ม สิ่งที่จำเป็นที่ต้องเรียนรู้เลยคือเรื่องของรูรับแสง
-
สปีดชัตเตอร์คืออะไร
พื้นฐานการถ่ายภาพอีกอย่างที่ช่างภาพมือใหม่ทุกคนควรเรียนรู้และคำนึงถึงคือการใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสม
-
ISO คืออะไร
บางครั้งแสงของภาพที่ออกมาอาจจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์เพียงอย่างเดียว เรื่อง ISO ก็สามารถช่วยให้กล้องของคุณรับแสงได้อย่างเหมาะสมได้เช่นกัน
-
สามารถนำฟิล์มไปล้างที่ไหนได้บ้าง
คุณสามารถนำฟิล์มสีเนกาทีฟ 35 มม. ไปล้างได้ได้ที่แล็บล้างฟิล์มทั่วไปเลย
-
ฟิล์ม Redscale และ LomoChrome ล้างด้วยวิธีไหน
ฟิล์มสีทั้งหมดของ Lomography ล้างด้วยน้ำยา C-41 ซึ่งรวมถึงฟิล์ม Lomography RedScale XR และฟิล์มตระกูล LomoChrome ซึ่งได้แก่ LomoChrome Purple, LomoChrome Metropolis และ LomoChrome Turquoise
-
การล้างฟิล์มแบบ cross process คืออะไร
การล้างฟิล์มแบบ cross process (หรือ “X-pro”) เป็นขั้นตอนการล้างฟิล์มที่จงใจใช้น้ำยาในการล้างฟิล์มแบบข้ามชนิดฟิล์ม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คาดเดาไม่ได้
-
ฟิล์มสไล์ขาวดำ (B&W slide) คืออะไร
ฟิล์มสไลด์ (เรียกอีกอย่างว่า "ฟิล์มสีโพสิทีฟ", "ฟิล์มโปร่งใส" หรือ "ฟิล์ม reversal") เป็นฟิล์มที่จะปรากฎสีจริงแบบโพสิทีฟบนฟิล์ม ไม่เหมือนกับฟิล์มเนกาทีฟที่สีจะกลับด้านกันกับสีจริง
-
ฟิล์มขาวดำเนกาทีฟคืออะไร
ฟิล์มขาวดำแบบเนกาทีฟพบได้บ่อยที่สุด และใช้ชงานลักษณะเดียวกันกับฟิลืมสีเนกาทีฟ โดยพื้นฐานแล้ว ส่วนที่สว่างที่สุดบนฟิล์มเนกาทีฟจะเป็นส่วนที่มืดที่สุดของงานพิมพ์จริง และส่วนที่มืดที่สุดบนฟิล์มเนกาทีฟจะเป็นส่วนที่สว่างที่สุดของงานพิมพ์จริง
-
ฟิล์มสไลด์และกระบวนการล้างฟิล์มแบบ E-6 คืออะไร
ฟิล์มสไลด์ เรียกอีกอย่างว่า "ฟิล์มสีโพสิทีฟ", "ฟิล์มโปร่งใส", "ฟิล์ม reversal"หรือ “ฟิล์ม E-6” ซึ่งความสว่างและความมืดของภาพที่อยู่บนฟิล์มจะเป็นสีตามจริง เมื่อใส่ฟิล์มลงไปในกรอบฟิล์มสไลด์ คุณจะสามารถนำไปใส่ในเครื่องฉายฟิล์มสไลด์เพื่อชมภาพได้
-
ฟิล์มสีเนกาทีฟและกระบวนการล้างฟิล์มแบบ C-41 คืออะไร
ฟิล์มสีเนกาทีฟเป็นฟิล์มที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งคุณสมบัติหลักเลยคือมีค่า ISO ที่หลากหลาย สามารถตั้งค่า ISO ให้มากขึ้นหรือน้อยลงได้ 1-2 ค่า โดยที่ไม่ต้องกังวล และผลลัพธ์ยังคงออกมาดี
-
ฟิล์มสีเนกาทีฟ, ฟิล์มโพสิทีฟ และฟิล์มสไลด์แตกต่างกันอย่างไร
ฟิล์มสีเนกาทีฟ และ ฟิล์มสไลด์ เป็นฟิล์มสีเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงภาพที่ออกมา
-
การล้างฟิล์มมีแบบไหนบ้าง
การล้างฟิล์มโดยทั่วไปมี 3 แบบ ได้แก่ C-41, E-6 และ B&W ขึ้นอยู่กับฟิล์มแต่ละประเภท เช่น ฟิล์มสีเนกาทีฟ, ฟิล์มสีโพสิทีฟ (ฟิล์ม color reversal/สไลด์) และฟิล์มขาวดำ
-
ฟิล์มลาร์จฟอร์แมต (large format) หรือฟิล์มชีท (sheet film) คืออะไร
"ฟิล์ม Large format คือฟิล์มที่มีขนาดภาพ 4×5 นิ้วหรือใหญ่กว่า โดยฟิล์มจะแยกเป็นแผ่นๆ โหลดมาพร้อมที่ยึดฟิล์ม เลยทำให้บางคนเรียกว่าฟิล์มชีท"
-
ฟิล์ม 127 คืออะไร
ฟิล์ม 127 มีขนาดความกว้าง 46 มม. ซึ่งอยู่ตรงกลางระหว่างฟิล์ม 35 มม. และฟิล์ม 120 เริ่มต้นคิดค้นโดย Kodak และในปัจจุบันค่อนข้างหายาก
-
ฟิล์ม 110 คืออะไร
ฟิล์ม 110 (หรือฟิล์ม pocket) ผลิตขึ้นครั้งแรกในปี 1972 โดย Kodak ซึ่งฟิล์มฟอร์แมตนี้มีความกว้างเพียง 16 มม. หรือประมาณครึ่งหนึ่งของฟิล์ม 35 มม. ที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย
-
ฟิล์มมีเดียมฟอร์แมต หรือฟิล์ม 120 คืออะไร
ฟิล์มมีเดียมฟอร์แมต (หรือฟิล์ม 120) มีขนาดใหญ่กว่าฟิล์ม 35 มม. แต่มีขนาดเล็กกว่าฟิล์มลาร์จฟอร์แมต (หรือฟิล์มชีท) ในปัจจุบันสามารถใช้คำว่า “ฟิล์ม 120” หรือ “ฟิล์มมีเดียมฟอร์แมต” แทนก็ได้ แต่จริงๆ แล้วฟิล์มชนิดนี้ไม่ได้มีขนาด 120 มม.
-
ฟิล์ม 35 มม. คืออะไร
ฟิล์ม 35 มม. (ฟอร์แมต 135) เป็นฟิล์มที่หาได้ง่ายมากที่สุด โดยตัวฟิล์มมีขนาดความกว้าง 35 มม. และภาพที่ออกมามีขนาด 24×36 มม.
สอบถามเพิ่มเติม
ถ้าไม่พบคำตอบที่ต้องการค้นหา หรือมีคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ทางอีเมล school@lomography.com เลยนะ พวกเรารอตอบอยู่! : )
คอร์สทั้งหมดของเรา
การวาดภาพด้วยไฟและการใช้โหมดชัตเตอร์ B
- การวาดไฟ (light painting) คืออะไร
- เทคนิคการวาดไฟ (light painting) มีอะไรบ้าง
- กล้อง Instant สามารถใช้โหมดการเปิดรับแสงนาน (long exposure) ได้อย่างไร
- ถ้าต้องการใช้เปิดการรับแสงนาน (long exposure) หรือวาดไฟ (light painting) ลงในภาพ ต้องทำอย่างไรบ้าง
- เมื่อต้องการวาดไฟ (light painting) ควรตั้งค่ากล้องอย่างไร
- การเปิดรับแสงนาน (long exposure) ควรใช้เวลานานเท่าไหร่ต่อภาพ
- กล้อง Lomography รุ่นไหนบ้างที่มีโหมดชัตเตอร์ B และสามารถวาดไฟได้
- การวาดไฟ (light painting) ควรเลือกใช้ฟิล์มแบบไหน
เรื่องราวเกี่ยวกับฟิล์มหมดอายุ
- ฟิล์มหมดอายุนานแค่ไหนที่ยังสามารถใช้งานได้
- ฟิล์มเก็บรักษาอย่างไร
- การใช้ฟิล์มหมดอายุ ควรถ่ายแบบ over หรือไม่
- ฟิล์มหมดอายุจะทำให้กล้องพังหรือไม่
- ล้างฟิล์มหมดอายุอย่างไร
- ภาพได้จากฟิล์มหมดอายุมีลักษณะแบบใด
- มีคำแนะนำสำหรับการถ่ายภาพด้วยฟิล์มหมดอายุหรือไม่
- ทำไมช่างภาพบางคนถึงชอบใช้ฟิล์มหมดอายุ
- ฟิล์มหมดอายุสามารถใช้งานได้หรือไม่
ถ่ายภาพฟิล์มในที่แสงน้อย
- เคล็ดลับในการถ่ายภาพในที่แสงน้อยมีอะไรบ้าง
- สามารถ push เพื่อถ่ายในที่แสงน้อยได้หรือไม่
- เคล็ดลับที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพแสงนีออนบนฟิล์มคืออะไร
- แอปสำหรับวัดแสงที่ดีที่สุดมีอะไรบ้าง
- ถ้าถ่ายฟิล์มในที่แสงน้อยควรตั้งค่าอย่างไร
- ถ่ายภาพตอนกลางคืนโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องได้อย่างไร
- การถ่ายภาพในที่แสงน้อยมีความยากอย่างไร
- การถ่ายภาพฟิล์มตอนกลางคืน ควรเลือกฟิล์ม ISO เท่าไหร่
การถ่ายภาพด้วยกล้องรูเข็ม
- ทำกล้องรูเข็มใช้เองอย่างไร
- สำหรับการถ่ายภาพ 1 เฟรมโดยใช้กล้องรูเข็ม ควรใช้เวลานานแค่ไหน
- ขนาดรูเข็มที่เหมาะสมที่สุดคือเท่าไหร่
- การถ่ายภาพด้วยกล้องรูเข็มต้องโฟกัสหรือไม่
- กล้องรูเข็ม (pinhole) และกล้องทาบเงา (obscura) แตกต่างกันอย่างไร
- กล้อง Lomography ตัวไหน สามารถถ่ายภาพรูเข็มได้บ้าง
- ภาพถ่ายรูเข็มคืออะไร
ประเภทของฟิล์มทั้งหมด
- ฟิล์มแต่ละฟอร์แมตแตกต่างกันอย่างไร
- กล้องฟิล์มแบบ half-frame คืออะไร
- สามารถนำฟิล์มไปล้างที่ไหนได้บ้าง
- ฟิล์ม Redscale และ LomoChrome ล้างด้วยวิธีไหน
- การล้างฟิล์มแบบ cross process คืออะไร
- ฟิล์มสไล์ขาวดำ (B&W slide) คืออะไร
- ฟิล์มขาวดำเนกาทีฟคืออะไร
- ฟิล์มสไลด์และกระบวนการล้างฟิล์มแบบ E-6 คืออะไร
- ฟิล์มสีเนกาทีฟและกระบวนการล้างฟิล์มแบบ C-41 คืออะไร
- ฟิล์มสีเนกาทีฟ, ฟิล์มโพสิทีฟ และฟิล์มสไลด์แตกต่างกันอย่างไร
- การล้างฟิล์มมีแบบไหนบ้าง
- ฟิล์มลาร์จฟอร์แมต (large format) หรือฟิล์มชีท (sheet film) คืออะไร
- ฟิล์ม 127 คืออะไร
- ฟิล์ม 110 คืออะไร
- ฟิล์มมีเดียมฟอร์แมต หรือฟิล์ม 120 คืออะไร
- ฟิล์ม 35 มม. คืออะไร
การถ่ายภาพซ้อน
- การถ่ายภาพซ้อนมีเทคนิคอะไรบ้าง
- การถ่ายภาพซ้อนคืออะไร
- ฟิล์ม 35 มม. แบบไหนที่เหมาะกับการถ่ายภาพซ้อนมากที่สุด
- ฝาหลัง LomoGraflok 4×5 Instant สามารถถ่ายภาพซ้อนได้หรือไม่
- กล้องฟิล์มสำหรับถ่ายภาพซ้อน รุ่นไหนดีที่สุด
- กล้อง Simple Use สามารถถ่ายภาพซ้อนได้หรือไม่
- Film swap คืออะไร
- กล้อง Instant ใช้ถ่ายภาพซ้อนอย่างไร
- กล้อง Lomography รุ่นไหนบ้างที่สามารถถ่ายภาพซ้อนไม่จำกัดได้
- ในหนึ่งเฟรม สามารถถ่ายภาพซ้อนได้กี่ภาพ
การถ่ายภาพโดยใช้กล้อง Instant
- ถ้านำฟิล์ม Instax ออกจากตัวกล้องก่อนที่จะถ่ายหมดจะเกิดอะไรขึ้น
- ภาพถ่าย Instant ควรจัดเก็บอย่างไร
- สแกนฟิล์ม Instant ได้อย่างไร
- คุณสมบัติของกล้อง Lomography Instant มีอะไรบ้าง
- ฟิล์ม Instant แต่ละฟอร์แมตแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
- LomoGraflok 4×5 Instant back คืออะไร
- การถ่ายภาพ Instant คืออะไร
- กล้อง Instant สามารถใช้โหมดการเปิดรับแสงนาน (long exposure) ได้อย่างไร
- กล้อง Instant ใช้ถ่ายภาพซ้อนอย่างไร
พื้นฐานการถ่ายภาพแบบอนาล็อก
- กล้องฟิล์มมีกี่ประเภท
- กฎ Sunny 16 คืออะไร
- ภาพถ่ายที่ overexpose และ underexpose คืออะไร
- เวลาโหลดฟิล์ม ต้องโหลดในที่มืดหรือไม่
- กล้องแบบ full-frame และ half-frame แตกต่างกันอย่างไร
- ฟิล์มขนาด 35 มม. สามารถถ่ายได้กี่ภาพ
- อนาล็อกและดิจิทัลแตกต่างกันอย่างไร
- โบเก้คืออะไร
- การวัดแสงคืออะไร
- ภาพถ่ายแบบมาโคร (macro) คืออะไร
- การถ่ายภาพมุมกว้าง (wide-angle) คืออะไร
- ช่วงเลนส์หรืออะไร
- ระยะโฟกัสที่ใกล้ที่สุดคือเท่าไหร่
- การ push และ pull ฟิล์มคืออะไร
- รูรับแสงคืออะไร
- สปีดชัตเตอร์คืออะไร
- ISO คืออะไร
การสแกนฟิล์ม
- ถ้าต้องการสแกนฟิล์มเนกาทีฟควรทำอย่างไรบ้าง
- สแกนฟิล์มได้ที่ไหนบ้าง
- สแกนฟิล์ม 120 ได้อย่างไร
- วิธีการสแกนฟิล์มเนกาทีฟมีแบบไหนบ้าง
- สามารถสแกนฟิล์มผ่านสมาร์ตโฟนได้หรือไม่
- สแกนภาพถ่ายพาโนราม่าอย่างไร
- สแกนฟิล์มภาพซ้อนที่เหลื่อมกันได้อย่างไร
- สแกนฟิล์ม 110 ได้อย่างไร
- สแกนฟิล์มติดหนามเตยหรือติดขอบฟิล์มอย่างไร