ฟิล์มแต่ละฟอร์แมตแตกต่างกันอย่างไร
ฟิล์มมีทั้งหมด 3 ฟอร์แมตหลักๆ ได้แก่ 35 มม., มีเดียมฟอร์แมต และ ลาร์จฟอร์แมต แต่นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีฟิล์มฟอร์แมตพิเศษอื่นๆ อีก เช่น 110 และ 127

เวลาเราพูดถึงฟอร์แมตของฟิล์ม ส่วนมากจะนึกถึงขนาดของฟิล์มเนกาทีฟ ทั่วๆ ไป ยิ่งฟิล์มเนกาทีฟขนาดใหญ่กว่า เกรนก็จะละเอียด รวมทั้งรายละเอียดก็จะมากกว่าเวลาที่อัดภาพออกมา
35 มม. (หรือฟอร์แมต 135)
35 มม. (หรือฟอร์แมต 135) เป็นฟอร์แมตที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย เป็นฟิล์มประเภทที่พ่อแม่/ปู่ย่าตายายของคุณถ่ายมานานแล้ว เป็นฟอร์แมตที่หาง่ายที่สุดและราคาถูกที่สุด โดยฟิล์ม 35 มม. จำนวน 1 ม้วน จะได้ถ่ายได้ 24 หรือ 36 ภาพ
ฟิล์ม 35 มม. สามารถใช้งานคู่กับกล้อง LC-A+, Sprocket Rocket lomography.com/th/sprocket-rocket-35-mm-film-panoramic-camera, Fisheye No.2, และ Simple Use"
มีเดียมฟอร์แมต (หรือฟิล์ม 120)
มีเดียมฟอร์แมต (หรือฟิล์ม 120) เป็นฟิล์มที่มีขนาดความกว้าง 6 ซม. ซึ่งภาพจากกล้องมีเดียมฟอร์แมตจะแตกต่างกันตามความยาวของเฟรมภาพ มีตั้งแต่ขนาด 6×4.5, 6×6 และ 6×7 โดยส่วนมากจะได้ภาพประมาณ 10-16 ภาพต่อม้วน
กล้องมีเดียมฟอร์แมต ได้แก่ กล้อง Diana F+ และกล้อง Lomo LC-A 120
ลาร์จฟอร์แมต
ลาร์จฟอร์แมต (ฟิล์มชีท) แม้จะเป็นฟอร์แมตที่เก่าแก่ที่สุด แต่ในปัจจุบันก็ยังคงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งขนาดฟิล์มชีทที่ใช้กันทั่วไปมีทั้ง 4×5 และ 8×10 และเนื่องจากฟิล์มชีทมีราคาสูง รวมทั้งการใช้งานกล้องประเภทนี้ยุ่งยาก คนเลยหันไปใช้กล้อง 35 มม. และมีเดียมฟอร์แมตมากกว่า
ฟิล์ม 110
ฟิล์ม 110 (ฟิล์ม pocket) เป็นฟิล์มเนกาทีฟที่มีขนาดครึ่งหนึ่งของฟิล์ม 35 มม. โดยมีวิธีการโหลดฟิล์มที่แตกต่างกันกับฟิล์มทั่วไป ซึ่งฟิล์มฟอร์แมตนี้จะบรรจุมาในกล่องที่ด้านในจะมีช่องสำหรับแยกฟิล์มที่ถ่ายแล้ว และยังไม่ได้ถ่าย ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องกรอฟิล์มเหมือนขนาด 35 มม.
แม้ว่าจะเป็นฟิล์มที่คนอาจจะยังไม่ได้รู้จักมากนัก แต่ฟิล์ม Lomography 110 ก็ยังมีให้เห็นกันในปัจจุบัน ซึ่งฟอร์แมตนี้สามารถใช้งานคู่กับกล้อง Diana Baby 110 ได้นะ และในปัจจุบัน Lomography เป็นเพียงบริษัทเดียวที่ยังผลิตฟิล์ม 110 film อยู่ด้วย
ฟิล์ม 127
ฟิล์ม 127 เป็นฟิล์มที่มีขนาดความกว้าง 46 มม. จะอยู่ตรงกลางระหว่างฟิล์ม 35 มม. และมีเดียมฟอร์แมต ซึ่งสามารถพบกล้องที่ใช้ฟิล์ม 127 ได้ในกลุ่มกล้องโบราณ เช่น The Kodak Brownie Reflex Synchro และ The Rolleiflex 4×4 (Gray Baby)
13 Like
npyskater, jsalido, songminkyu, bal_lomero, crismiranda, n_u_m_b_f_a_c_e, adi_totp, pauliiine, asparuh, giraffesmind, sanichiban, iwnilom & alessandrom.
สอบถามเพิ่มเติม
ถ้าไม่พบคำตอบที่ต้องการค้นหา หรือมีคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ทางอีเมล school@lomography.com เลยนะ พวกเรารอตอบอยู่! : )
เรียนรู้เพิ่มเติม
-
ฟิล์ม Tungsten คืออะไร
ฟิล์มมาตรฐานส่วนใหญ่มักถูกปรับสมดุลให้เหมาะกับแสงกลางวัน ดังนั้นเมื่อใช้ภายใต้แสง Tungsten ภาพที่ได้มักจะมีโทนสีเหลือง-ส้ม เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ฟิล์ม Tungsten จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถสร้างภาพที่มีสีถูกต้องเมื่อนำไปใช้ถ่ายภายใต้แสงประดิษฐ์
-
ฟิล์ม 126 คืออะไร
ฟิล์ม 126 เปิดตัวโดย Kodak ในปี 1963 เพื่อทำให้กระบวนการใส่และถอดฟิล์มออกจากกล้องเป็นเรื่องง่ายขึ้น ชื่อนี้มาจากขนาดของเนกาทีฟ ซึ่งมีขนาด 26.5 มม. เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แม้ว่าบริษัทต่าง ๆ จะหยุดการผลิตฟิล์มรูปแบบ 126 เป็นจำนวนมากในช่วงปี 2007 ถึง 2008 แต่กลักฟิล์มชนิดนี้ยังคงเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
-
ฟิล์ม APS คืออะไร
ฟิล์ม Advanced Photo System (APS) ถูกเปิดตัวในปี 1996 เพื่อเป็นทางเลือกที่ทันสมัยหรือ "ไฮเทค" สำหรับฟิล์มรูปแบบ 126 และ 110 มีความกว้าง 24 มม. และนำเสนอคุณสมบัติใหม่ ๆ เช่น ความสามารถในการเลือกความยาวการรับแสงและขนาดการพิมพ์ การผลิตฟิล์ม APS ได้หยุดลงในปี 2011
-
ความแตกต่างระหว่างฟิล์ม panchromatic และ orthochromatic คืออะไร
ฟิล์ม orthochromatic ถูกสร้างขึ้นด้วยผลึกซิลเวอร์เฮไลด์ที่ไวต่อสีน้ำเงิน ในขณะที่ฟิล์ม panchromatic จะเติมสารเคมีอื่นๆ เพื่อเพิ่มความไวของฟิล์มในส่วนสีเขียวและสีแดงของสเปกตรัม
-
กล้องฟิล์มแบบ half-frame คืออะไร
กล้อง half-frame เป็นกล้องที่สามารถถ่ายภาพขนาด 18×24 มม. บนฟิล์ม 35 มม. ได้ถึง 72 ภาพ ทำให้คุณประหยัดฟิล์มได้มากเลย!
-
ฟิล์ม LomoChrome คืออะไร
ฟิล์ม LomoChrome คืออะไร
-
สามารถนำฟิล์มไปล้างที่ไหนได้บ้าง
คุณสามารถนำฟิล์มสีเนกาทีฟ 35 มม. ไปล้างได้ได้ที่แล็บล้างฟิล์มทั่วไปเลย
-
ฟิล์ม Redscale และ LomoChrome ล้างด้วยวิธีไหน
ฟิล์มสีทั้งหมดของ Lomography ล้างด้วยน้ำยา C-41 ซึ่งรวมถึงฟิล์ม Lomography RedScale XR และฟิล์มตระกูล LomoChrome ซึ่งได้แก่ LomoChrome Purple, LomoChrome Metropolis และ LomoChrome Turquoise
-
การล้างฟิล์มแบบ cross process คืออะไร
การล้างฟิล์มแบบ cross process (หรือ “X-pro”) เป็นขั้นตอนการล้างฟิล์มที่จงใจใช้น้ำยาในการล้างฟิล์มแบบข้ามชนิดฟิล์ม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คาดเดาไม่ได้