กล้องฟิล์มแบบ half-frame คืออะไร
เชื่อว่าช่างภาพทุกคนต้องมีกล้อง half-frame อย่างน้อยหนึ่งตัวแน่นอน
กล้องแบบ half-frame หรือที่รู้จักกันในชื่อ single-frame หรือ split-frame คือกล้องที่ถ่ายภาพขนาด 18×24 มม. บนฟิล์ม 35 มม. พูดง่ายๆ ก็คือเป็นครึ่งหนึ่งของภาพเต็มเฟรมขนาดมาตรฐาน (24×36 มม.)

สิ่งที่ทำให้กล้อง half-frame แตกต่างจากกล้องทั่วไป ไม่ใช่แค่ขนาดกะทัดรัดและฟังก์ชั่นที่เยอะเท่านั้น แต่ยังประหยัดอีกด้วย เพราะฟิล์มทั่วไป สามารถถ่ายได้ 12, 24 หรือ 36 ภาพ แต่ถ้าใช้กล้อง half-frame คุณจะได้ภาพเป็นสองเท่า ซึ่งหมายความว่าถ้าใช้ฟิล์ม 35 มม. ปกติที่ถ่ายได้ 36 ภาพ คุณจะถ่ายได้เพิ่มเป็น 72 ภาพเลย ถือว่าประหยัดมากๆ!
ในช่วงทศวรรษที่ 1960 กล้อง half-frame ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ต่อมาความนิยมลดลงเมื่อกล้องฟลูเฟรม 35 มม. ที่มีขนาดเล็กเท่ากล้ออง half-frame เริ่มเปิดตัวขึ้นในท้องตลาด ทาง Lomography ก็มีกล้องประเภทนี้เช่นกัน ทั้งกล้อง Diana Mini ที่สามารถเลือกถ่ายได้ระหว่างสี่เหลี่ยมจตุรัสแบบเต็มเฟรมและ half-frame ส่วนกล้อง Lomo LC-Wide จะสามารถเลือกถ่ายได้ทั้งขนาดเต็มเฟรม, ขนาดสี่เหลี่ยมจตุรัสและขนาด half-frame โดยที่ภาพจะออกมาพร้อมเอกลักษณ์ในสไตล์โลโม่แบบเต็มๆ
สอบถามเพิ่มเติม
ถ้าไม่พบคำตอบที่ต้องการค้นหา หรือมีคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ทางอีเมล school@lomography.com เลยนะ พวกเรารอตอบอยู่! : )
ภาพถ่ายจากนักเรียนของเรา
ถ้าคุณอยากแบ่งปันภาพถ่ายกับเพื่อนๆ ในห้องเรียน Lomo School เพียงแท็ก “half-frame” เราจะเลือกภาพถ่ายที่ชอบที่สุดไว้ใน จากแท็ก “half-frame”
เรียนรู้เพิ่มเติม
-
ฟิล์มแต่ละฟอร์แมตแตกต่างกันอย่างไร
ฟิล์มมีทั้งหมด 3 ฟอร์แมตหลักๆ ได้แก่ 35 มม., มีเดียมฟอร์แมต และ ลาร์จฟอร์แมต แต่นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีฟิล์มฟอร์แมตพิเศษอื่นๆ อีก เช่น 110 และ 127
-
ฟิล์ม Tungsten คืออะไร
ฟิล์มมาตรฐานส่วนใหญ่มักถูกปรับสมดุลให้เหมาะกับแสงกลางวัน ดังนั้นเมื่อใช้ภายใต้แสง Tungsten ภาพที่ได้มักจะมีโทนสีเหลือง-ส้ม เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ฟิล์ม Tungsten จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถสร้างภาพที่มีสีถูกต้องเมื่อนำไปใช้ถ่ายภายใต้แสงประดิษฐ์
-
ฟิล์ม 126 คืออะไร
ฟิล์ม 126 เปิดตัวโดย Kodak ในปี 1963 เพื่อทำให้กระบวนการใส่และถอดฟิล์มออกจากกล้องเป็นเรื่องง่ายขึ้น ชื่อนี้มาจากขนาดของเนกาทีฟ ซึ่งมีขนาด 26.5 มม. เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แม้ว่าบริษัทต่าง ๆ จะหยุดการผลิตฟิล์มรูปแบบ 126 เป็นจำนวนมากในช่วงปี 2007 ถึง 2008 แต่กลักฟิล์มชนิดนี้ยังคงเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน
-
ฟิล์ม APS คืออะไร
ฟิล์ม Advanced Photo System (APS) ถูกเปิดตัวในปี 1996 เพื่อเป็นทางเลือกที่ทันสมัยหรือ "ไฮเทค" สำหรับฟิล์มรูปแบบ 126 และ 110 มีความกว้าง 24 มม. และนำเสนอคุณสมบัติใหม่ ๆ เช่น ความสามารถในการเลือกความยาวการรับแสงและขนาดการพิมพ์ การผลิตฟิล์ม APS ได้หยุดลงในปี 2011
-
ความแตกต่างระหว่างฟิล์ม panchromatic และ orthochromatic คืออะไร
ฟิล์ม orthochromatic ถูกสร้างขึ้นด้วยผลึกซิลเวอร์เฮไลด์ที่ไวต่อสีน้ำเงิน ในขณะที่ฟิล์ม panchromatic จะเติมสารเคมีอื่นๆ เพื่อเพิ่มความไวของฟิล์มในส่วนสีเขียวและสีแดงของสเปกตรัม
-
ฟิล์ม LomoChrome คืออะไร
ฟิล์ม LomoChrome คืออะไร
-
สามารถนำฟิล์มไปล้างที่ไหนได้บ้าง
คุณสามารถนำฟิล์มสีเนกาทีฟ 35 มม. ไปล้างได้ได้ที่แล็บล้างฟิล์มทั่วไปเลย
-
ฟิล์ม Redscale และ LomoChrome ล้างด้วยวิธีไหน
ฟิล์มสีทั้งหมดของ Lomography ล้างด้วยน้ำยา C-41 ซึ่งรวมถึงฟิล์ม Lomography RedScale XR และฟิล์มตระกูล LomoChrome ซึ่งได้แก่ LomoChrome Purple, LomoChrome Metropolis และ LomoChrome Turquoise
-
การล้างฟิล์มแบบ cross process คืออะไร
การล้างฟิล์มแบบ cross process (หรือ “X-pro”) เป็นขั้นตอนการล้างฟิล์มที่จงใจใช้น้ำยาในการล้างฟิล์มแบบข้ามชนิดฟิล์ม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คาดเดาไม่ได้