การ push และ pull ฟิล์มคืออะไร

คุณอาจจะเคยได้ยินเรื่องการ "push" หรือ "pull" ฟิล์มมาบ้าง อาจจะฟังดูสับสน แต่จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลยนะ

ISO 400 film pushed 2 stops to 1600 © grazie

ฟิล์มแต่ละม้วนจะมาพร้อมค่า ISO ที่ต่างกัน

การ push ฟิล์ม คือการที่คุณถ่ายภาพฟิล์มด้วยค่าที่สูงกว่าค่า ISO ของฟิล์มจริง เช่น ฟิล์ม ISO 400 แต่ตั้งค่า ISO ไว้ที่ 800 ก็จะทำให้ฟิล์มเปิดรับแสงน้อยกว่า ในขณะที่ชัตเตอร์ตอบสนองเร็วขึ้น โดยปกติแล้วสามารถชดเชยได้ตอนล้างฟิล์ม แต่วิธีนี้จะช่วยให้รายละเอียดที่เกิดจากการภาพถ่ายที่ underexposure กลับมาได้

ฟิล์มที่ push ต้องใช้เวลาล้างฟิล์มนานกว่าปกติ หากคุณนำฟิล์มไปล้างที่แล็บ ควรแจ้งว่าต้องการให้ฟิล์มของคุณ push / pull เท่าไหร่ เช่น +1 stop แล้วทางแล็บจะปรับเวลาในการล้างฟิล์มให้สอดคล้องกัน

การ push ฟิล์มแต่ละ stop หมายถึงการเพิ่มความเร็วของค่า ISO เป็นสองเท่า ดังนั้น ฟิล์ม ISO 400 ที่ push ไป 1 stop (+1) จะหมายถึงค่า ISO 800 และ push ไป 2 stop (+2) จะหมายถึงค่า ISO 1600 ดังนั้น ฟิล์ม 400 ที่ pull มา 1 stop (-1) ก็จะหมายถึงค่า ISO 200 นั่นเอง

Photo by @clownshoes ISO 400 pulled to ISO 100

การ pull ฟิล์มก็คือตรงข้ามกับการ push เมื่อ pull ฟิล์ม คุณจะได้ค่าฟิล์มที่น้อยลง (เช่น ฟิล์มจริง ISO 400 แต่เปลี่ยนเป็น 200)

หากคุณปรับค่า ISO ภาพที่ได้จะออกมา overexposing หรือ underexposing แต่จริงๆ แล้วการ push หรือ pull จะเกิดขึ้นระหว่างการล้างฟิล์มมากกว่า

ทำไมต้อง push หรือ pull ฟิล์ม

สาเหตุหลักที่ต้อง push หรือ pull คือในกรณีที่คุณอยู่ในสภาพแสงไม่ตรงกับฟิล์มที่ใช้ หากคุณอยู่ในที่ที่แสงน้อย แต่มีฟิล์ม ISO 400 คุณอาจจะลอง push ฟิล์มไปที่ 800 หรือ 1600 เพื่อให้สามารถถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้

แต่ถ้ามีแสงมากเกินไปอาจจะไม่ต้องกังวลมาก เพราะฟิล์มสีเนกาทีฟและฟิล์มขาวดำส่วนใหญ่รับมือกับเรื่องนี้ได้ แม้ว่าจะมีแสงมากแต่ก็จะไม่เกิดผลกระทบต่อภาพมากนัก ปกติแล้วคนทั่วไปจึงไม่ค่อยได้ pull ฟิล์ม แต่จริงๆ แล้วก็จะช่วยเรื่องลดคอนทราสต์และเห็นรายละเอียดมากขึ้นเวลาถ่ายภาพเงา

โดยทั่วไปการ push ฟิล์มจะทำให้คอนทราสต์จัดขึ้นและมีเกรนมากขึ้น ในขณะเดียวกันการ pull ฟิล์มจะเป็นการลดคอนทราสต์นั่นเอง

สอบถามเพิ่มเติม

ถ้าไม่พบคำตอบที่ต้องการค้นหา หรือมีคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ทางอีเมล school@lomography.com เลยนะ พวกเรารอตอบอยู่! : )

เรียนรู้เพิ่มเติม

  • กล้องฟิล์มมีกี่ประเภท

    ตั้งแต่ SLR ไปจนถึง TLR และกล้อง rangefinder ไปจนถึง Point-and-shoot – มาดูว่ากล้องประเภทต่างๆ เหล่านี้ทำงานอย่างไร

  • กฎ Sunny 16 คืออะไร

    กฎ Sunny 16 คืออะไร

    กฎ Sunny 16 คือหลักการวัดแสงที่ถูกต้องในตอนกางวันโดยที่ไม่ต้องใช้ระบบวัดแสงของกล้อง เหมาะมากสำหรับผู้ที่ใช้กล้องที่ไม่มีระบบวัดแสง หรือผู้ที่ไม่อยากตั้งค่าระบบวัดแสงในแต่ละภาพ ซึ่งอาจจะทำให้ช้าได้

  • ภาพถ่ายที่ overexpose และ underexpose คืออะไร

    ภาพถ่ายที่ overexpose และ underexpose คืออะไร

    พูดง่ายๆ คำว่า overexpose คือการเปิดรับแสงมากเกินไปจนภาพออกมาสว่างกว่าความเป็นจริง ในขณะที่การเปิดรับแสงที่น้อยเกินความเป็นจริงจนทำให้ภาพมืดเรียกว่า underexpose

  • เวลาโหลดฟิล์ม ต้องโหลดในที่มืดหรือไม่

    ไม่จำเป็นต้องโหลดฟิล์มในที่มืด แต่การไปโหลดฟิล์มในที่แสงน้อยหรือในร่มหน่อย ก็เป็นวิธีที่เหมาะสมมากที่สุด

  • กล้องแบบ full-frame และ half-frame แตกต่างกันอย่างไร

    กล้อง full-frame ให้ภาพขนาดเต็มเฟรม 36 มม. x 24 มม. ในขณะที่กล้อง half-frame จะถ่ายได้ 2 ภาพในเฟรมเดียว โดยแต่ละภาพมีขนาด 18 มม. x 24 มม.

  • ฟิล์มขนาด 35 มม. สามารถถ่ายได้กี่ภาพ

    ฟิล์มขนาดาตรฐาน 35 มม. จะถ่ายภาพได้ 36 ภาพ แต่บางยี่ห้อก็อาจจะถ่ายได้ 24 ภาพ ขึ้นอยู่กับฟิล์มแต่ละรุ่น

  • อนาล็อกและดิจิทัลแตกต่างกันอย่างไร

    อนาล็อกและดิจิทัลเป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล ในเทคโนโลยีแบบอนาล็อก คลื่นหรือสัญญาณจะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบดั้งเดิม (เช่น ไวนิล ซึ่งมีการสลักร่องเพื่อสร้างคลื่นเสียงบนดิสก์) ในทางกลับกัน เทคโนโลยีดิจิทัล คลื่นหรือสัญญาณจะถูกแปลงเป็นตัวเลขและจัดเก็บเป็นรหัสบนอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น ฮาร์ดไดรฟ์ การ์ดหน่วยความจำ หรือคอมพิวเตอร์

  • โบเก้คืออะไร

    โบเก้คืออะไร

    โบเก้คืออะไร

  • การวัดแสงคืออะไร

    การวัดแสงคือกระบวนการอ่านสภาพแสงก่อนถ่ายภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้ค่าแสงที่เหมาะสมมากที่สุด โดยต้องคำนึงถึงสปีดชัตเตอร์, รูรับแสง และ ISO