เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการถ่ายฟิล์ม Redscale

หากคุณรักภาพที่โทนสีมีจำกัดและสีโทนแดง นั่นน่าจะแปลว่าคุณได้ค้นพบฟิล์ม redscale เข้าให้แล้ว นอกจากคอนเซปทั่วไปแล้ว สิ่งที่ได้รับกลับมาจากการใช้ฟิล์มชนิดนี้นั้นยิ่งใหญ่มาก มาอ่านต่อเพื่อดูเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้กันเลย!

เครดิต: russheath

การจำกัดโทนสีในภาพของคุณเป็นหนึ่งวิธีที่ยอดเยี่ยมที่จะดึงดูดความสนใจ และนั่นเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีเยี่ยมในการถ่ายภาพขาวดำ อย่างไรก็ตาม ฟิล์มเรดสเกลเป็นทางเลือกใหม่ที่แสนจะดึงดูดใจเมื่อเทียบกับภาพขาวดำในแบบเก่า คือนอกจากคุณจะได้ภาพที่มีโทนสีที่จำกัดแล้ว คุณอาจจะได้สีอื่นที่น่าสนใจโผล่เข้ามาในภาพด้วย

เครดิต: russheath

เมื่อนำความน่าสนใจนี้มาผนวกกับความยืดหยุ่นและความง่ายดายที่จะควบคุมวิธีการปรับโทนสี รวมไปถึงราคาที่แสนจะน่าคบหา ก็ไม่แปลกที่การถ่ายภาพโลโม่กับฟิล์ม redscale นั้นเข้าคู่กันได้อย่างงดงาม

เทคนิค #1: เพิ่มค่า exposure = ลดความเข้มข้นของสี ให้มองว่าการตั้งค่า exposure ของฟิล์ม redscale ของคุณเป็นเสมือน “ปุ่มปรับเสียง” อะไรประมาณนี้ อยากจะเพิ่มโทนสีแดงงั้นหรือ? ถ้าอย่างงั้นก็ถ่ายภาพให้อันเดอร์หน่อยก็เท่านั้นเอง

เครดิต: russheath

อยากจะให้โทนสีเข้มข้นน้อยลงหรือ? ก็ถ่ายภาพให้โอเวอร์เข้าไว้สิ เยอะๆเลยนะ ฉันหมายความว่าให้ตั้งค่า ISO ของกล้องไปที่ 25 หรือถ้าทำได้ก็ลงไปที่ 12.5 เลย!

เครดิต: russheath

นี่เป็นวิธีส่วนตัวสุดโปรดของฉันในการถ่ายภาพ redscale มันจะทำให้ทุกอย่างในภาพมีโทนสีทองอ่อนๆ ซึ่งเข้ากันได้อย่างงดงามกับสีโทนอุ่นและสีผิว แต่ฉันก็รักการที่เราสามารถเลือกเอฟเฟคที่ต้องการได้ (ภายในฟิล์มม้วนเดียว) แค่เพียงปรับเปลี่ยนค่า exposure เท่านั้น .

เทคนิค #2: ฟิล์ม redscale เข้ากันได้ดีกับการถ่ายซ้อน มันดูเหมือนว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะถ่ายภาพ redscale ให้ออกมาโอเวอร์เกินไป และเพราะแบบนี้จึงทำให้การถ่ายภาพซ้อนนั้นเป็นไปได้อย่างยิ่ง โดยให้คุณพยายามถ่ายภาพซ้อนในเฟรมเดียวกันด้วยค่า ISO ที่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม คุณอาจจะไม่สามารถมองเห็นภาพสองภาพได้ชัดมากเท่าที่คุณต้องการ

เครดิต: russheath

เทคนิค #3: ระวังเส้นขีดสีฟ้า คุณอาจจะสังเกตเห็นได้แล้วจากภาพถ่ายในบทความนี้ว่ามีเส้นสีฟ้าปรากฏขึ้นบนฟิล์ม redscale จำนวนมาก ฉันเคยได้ยินคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้มามากพอสมควร แต่สาเหตุที่ฉันคิดว่าใช่นั้นคือการที่ว่าด้านหลังของฟิล์มนั้นมีความบอบบางมากกว่า และดังนั้นจึงเกิดเป็นรอยขีดข่วนขึ้นได้ง่ายเมื่อมันไปอยู่ด้านหน้ากล้อง หากคุณมองว่ามันเป็น “ส่วนประกอบ” อย่างหนึ่งของการถ่ายภาพ redscale ก็อ่านข้ามเทคนิคข้อนี้ไปได้ แต่ถ้าหากคุณไม่ชอบมันแล้วล่ะก็ ให้พยายามจะหุ้มขอบของหน้ากากฟิล์มด้วยสิ่งต่างๆ เช่นเทปบางๆ เพื่อกันรอยขีดข่วน

แค่นี้แหละ! ไม่มีอะไรใหม่สำหรับนักถ่ายภาพโลโม่ผู้เชี่ยวชาญการถ่ายภาพด้วยฟิล์ม redscale เท่าไหร่หรอก แต่หากคุณเป็นมือใหม่ที่สนใจจะสนุกกับฟิล์มชนิดนี้แล้วล่ะก็ ฉันก็หวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับคุณได้นะ!

เครดิต: russheath

เขียนโดย russheath เมื่อ 2012-03-17 ในหมวด #gear #คำแนะนำ #film #redscale #tipster #lomo #lomography #overexpose #xr #redscale-xr #lattitude

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ