Praktica FX2 และจุดกำเนิดของกล้องระบบ SLR

ครั้งหนึ่ง กล้องแบบ rangefinder คือราชาแห่งกล้อง หลังจากนั้นในช่วงปลายทศวรรษ 1930 ก็ได้มีบรรพบุรุษของกล้อง SLR ยุคแรกๆ ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งก็คือ Praktica FX2 ซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นตัวอย่างของกล้อง SLR ที่ดีที่สุดในราวทศวรรษที่ 1950 คุณสามารถอ่านต่อถึงข้อดีและความแปลกของกล้อง SLR ยุคแรกได้ในช่วงต่อไป

เมื่อนานมาแล้ว กล้องแบบ rangefinder เคยเป็นราชาแห่งกล้อง นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 จนถึงราวทศวรรษที่ 1960 ช่างภาพมืออาชีพทุกคนต่างก็ต้องการมีกล้อง Leica หรือ Leica ตัวเลียนแบบเอาไว้ในครอบครอง แต่แล้วในปี 1939 กล้อง Praktiflex ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นที่เมือง Dresden อันเป็นกล้องระบบ SLR ตัวแรกที่มีราคาถูกลง และมีคุณภาพสมราคา ซึ่งผู้ใช้ทั่วไปสามารถมีในครอบครองได้ หลังจากนั้นไม่นานก็เข้าสู่ยุคสงคราม เมื่อหมอกควันของสงครามจางลง สายการผลิตก็เริ่มเดินอีกครั้งในราวทศวรรษ 1950 ที่เยอรมันตะวันออก และได้เกิดเป็น Praktica FX ขึ้น ทั้งตัว Praktiflex รุ่นแรกที่ออกมา และ Praktica ที่ออกมาทีหลัง ต่างก็มีรูปลักษณ์ที่คล้ายคลึงกับ Leica เป็นอย่างมาก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะทางผู้ผลิตอาจจะไม่ต้องการทำให้ตัวกล้องดูแตกต่างไปจาก Leica มาก เพราะความต้องการ Leica ยังมีอยู่มากในตลาดขณะนั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตก็ได้เสริมสร้างนวัตกรรมใหม่เข้าไปในตัวกล้อง นั่นก็คือ ระบบ Single Lens Reflex หรือที่เรียกกันว่า ระบบ SLR ซึ่งหมายความว่า การโฟกัสภาพจะไม่ได้ทำผ่านเลนส์ 2 ตัวที่แยกกันบน rangefinder แต่จะโฟกัสผ่านเลนส์แก้วเลนส์เดี่ยว

เครดิต: alex34

สำหรับคนที่ใช้กล้อง SLR ในปัจจุบันอยู่ อาจจะรู้สึกว่าเวลามอง Praktica FX2 แล้วให้ความรู้สึกแปลกๆ ซึ่งนั่นแหละ คือสิ่งที่ฉันชอบเกี่ยวกับกล้องตัวนี้ เรียกได้ว่าเป็นกล้องเลนส์เดี่ยวขนาด 35มม. ที่ฉันชอบมากที่สุด และก็ยังไม่มีข้อกังขาว่ากล้องตัวนี้มีจุดเด่นที่ไม่ซ้ำใครอยู่หลายประการ กระทั่งเมื่อมันหายไปจากตลาด ก็หมายความว่ากล้องแบบ rangefinder ก็จะยิ่งกลายเป็นที่ปรารถนามากขึ้นไปอีก หากโชคชะตากำหนดให้มาเป็นเช่นนั้น กล้องสัญชาติญี่ปุ่นก็จะค่อยๆ ทำให้กล้องตระกูลนี้หายออกไปเกือบหมด

สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น ความเร็วชัตเตอร์อาจจะดูแปลกสำหรับมาตรฐานในปัจจุบัน คือ B, 2, 5, 10, 25, 50, 100, 200 และ 500 ความเร็วชัตเตอร์จะมีบอกไว้บนปุ่มควบคุมที่มีหน้าตาคล้ายกับ Leica และจะมีปุ่มด้านบนสำหรับเอาไว้สลับความเร็วชัตเตอร์ว่าต้องการแบบช้าหรือเร็ว ส่วนกลไกการเลื่อนฟิล์มก็จะคล้ายกับของ Leica มากกว่า ที่จะเป็นกลไกแบบงัดที่จะทำให้ตัวกล้องทำงานได้อย่างราบรื่น และประการสุดท้าย กล้อง SLR รุ่นนี้มีช่องมองอยู่ที่ระดับเอว แทนที่จะเป็นช่องมองที่ระดับสายตา หรือ eye-level prism ดังนั้น การถ่ายภาพจากระดับสะโพกจึงเป็นทางเดียวที่เป็นไปได้ นอกจากว่าใครจะต้องการเดาเอาจากช่องมองแบบ flip-down sport ยุคแรก

ช่องมองที่ระดับเอวนี้ ยังไม่มี instant return mirror ซึ่งหมายความว่าคุณต้องหมุนกล้องเพื่อขึ้นชัตเตอร์ อันจะทำให้ภาพปรากฏในช่องมอง และเมื่อคุณถ่ายภาพแล้ว ภาพที่ปรากฏจะหายไป จนกว่าคุณจะขึ้นฟิล์มสำหรับภาพถัดไป ถึงแม้ว่ามันจะค่อนข้างโบราณ แต่ก็เป็นวิธีการที่ไว้ใจได้ แต่ก็ยังคงจะไม่มีอะไรที่คนจะคิดถึงหากมันเป็นกล้อง SLR แบบในปัจจุบัน ไม่มีอะไรที่จะหยุดกล้องตัวนี้ได้ถ่ายภาพดีๆ ออกมาได้ แต่ด้้วยรูปลักษณ์ ทำให้ตัวกล้องดูดึงดูดใจน้อยกว่ากล้องแบบ rangefinder ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถโฟกัสภาพผ่านทางช่องมองได้ตลอดเวลา

เครดิต: alex34

ฉันคิดว่าไม่เพียงแต่ Praktica FX2 จะเป็นกล้องที่ยอดเยี่ยม แต่มันยังสามารถบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแข่งขันในยุคแรกๆ ระหว่างกล้องแบบ rangefinder และ SLR ข้อดีของ Praktica คือ มีฝาหลังที่เปิดออกได้ และใส่ฟิล์มได้ง่าย ในขณะที่กล้องแบบ rangefinder ส่วนใหญ่จะต้องใส่ฟิล์มจากด้านล่างและต้องตัดฟิล์มบางส่วนออก เพื่อให้ใส่ได้พอดี สำหรับคนที่รัก Leica และ Fed ก็จะบอกว่ามันเป็นเรื่องง่ายๆ และถ้าหากคุณคุ้นเคยกับมันแล้ว ก็จะใส่ได้เร็ว ซึ่งฉันก็เชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาพูดมานั้นถูกต้อง แต่ความจริงก็คือ มันก็ยังคงเป็นเรื่องหลอกลวงอยู่ดี

สำหรับ Praktica แล้ว คุณสามารถมองเห็นม่านชัตเตอร์ได้ง่ายๆ จากการเปิดฝาหลังกล้อง ซึ่งเป็นการง่ายที่จะตรวจดูรูรั่ว หรือรอยฉีกขาดของม่านชัตเตอร์ หรืออาจจะเป็นข้อบกพร่องอื่นๆ เมื่อเทียบกับกล้องในกลุ่ม Leica รุ่นแรก หรือ Fed และ Zorki ตัวกล้อง Praktica FX สามารถโฟกัสภาพได้อย่างรวดเร็วผ่านทางช่องมอง แต่ที่จริงแล้ว ตัวช่องมองที่อยู่ระดับเอวทำให้ในบางครั้งมองเห็นภาพได้ยาก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับว่าแสงที่ส่องเข้าผ่านเลนส์มา ไม่สว่างพอเมื่อเทียบกับแสงที่อยู่โดยรอบช่องมอง ที่รูรับแสงแคบ (f16) ความลับอยู่ที่ว่า สำหรับวันแดดแรง เมื่อคุณต้องใช้รูรับแสงแคบ ให้คุณโฟกัสภาพด้วยรูรับแสงที่กว้าง หลังจากนั้นให้ปิดช่องรับแสงก่อนที่จะถ่ายภาพ แต่วิธีนี้ก็ไม่แน่นอนว่าจะเป็นกระบวนการที่จัดการได้เสมอไป

และเมื่อไม่สามารถถือกล้องได้ในระดับสายตาเหมือนกับกล้อง rangefinder รุ่นใหม่ๆ อีกทั้งยังไม่สามารถถือกล้องในแนวนอนเพื่อให้ได้ภาพแนวยาว และเพื่อให้เห็นภาพได้ทั้งภาพ คุณจะต้องหมุนและขึ้นชัตเตอร์ เมื่อทางฝั่งญี่ปุ่นได้รีดเอาประเด็นนี้ออกจากกล้อง SLR ไปหมด โดยการผลิตกล้องที่มีชัตเตอร์อยู่ด้านบน ดังนั้น คุณจึงสามารถถือกล้องไว้ที่ระดับสายตาได้ อีกทั้งยังติดตั้งกระจกที่ทำให้ภาพหมุนกลับ ภาพจึงจะปรากฏอยู่ในช่องมองตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องขึ้นชัตเตอร์ก่อน ซึ่งจุดนี้เองที่เป็นข้อดีของกล้อง SLR ที่ง่ายกว่าการใช้งานของกล้องแบบ rangefinder กล้องแบบนี้จึงแทบจะหายไปแบบชั่วข้ามคืน

จวบจนกระทั่งตอนนี้ ก็ยังคงไม่มีข้อกังขาต่อข้อดีของกล้อง SLR เปรียบเทียบกับข้อเสียของมัน เมื่อเปรียบเทียบกับระบบ rangefinder และส่วนใหญ่แล้ว คนทั่วไปจะชอบถือกล้องไว้ที่ระดับสายตาเพื่อมองด้วยตัวเอง ทำให้ถึงจุดสิ้นสุดของกล้องแบบ rangefinder ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ที่พัฒนาไปมาก โดยเฉพาะสำหรับการพัฒนาของระบบ SLR จึงทำให้ท้ายที่สุดแล้ว กล้อง SLR จึงเอาชนะระบบเดิมได้อย่างง่ายดาย เพราะได้รับความนิยมมากกว่า ซึ่งกล้อง Praktica FX ที่มีลักษณะแปลกประหลาดนี้ ก็ยังคงเป็นกล้อง SLR ที่ฉันชอบ และยังคงเป็นกล้องขนาด 35มม.​ ที่ฉันจะพกไปไหนมาไหนด้วยเสมอ ความรักมันช่างเป็นอะไรที่แปลกจริงๆ!

เขียนโดย alex34 เมื่อ 2012-08-16 ในหมวด #gear #review #slr #single-lens-reflex #lomography #m42 #german-camera #slr-camera #user-review #praktica-fx2

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ