Back to Basics: เรียนรู้เรื่อง ISO ของฟิล์ม

ถ้าคุณเคยถ่ายภาพในร่มแล้วเบลอ, ถ่ายภาพตอนกลางคืนแล้วมืดจนแทบมองไม่เห็น หรือเวลาถ่ายภาพทะเลแล้วไม่เห็นรายละเอียดอะไรเลย นั่นเป็นเพราะคุณเลือกฟิล์มที่มี ISO ไม่ตรงกับสภาพแสงนั่นเอง!

แม้ว่าภาพถ่ายจะออกมาสวยมาก แต่การเลือกใช้ฟิล์ม ISO 100 (แม้ในวันที่มีแดดจ้า) ก็ยังไม่เร็วพอที่จะเก็บภาพเคลื่อนไหวได้โดยไม่สั่นหรือเบลอ เพราะฉะนั้นควรเลือกใช้ฟิล์ม ISO 200 หรือ 400 จะดีกว่า

เราจะไม่เอ่ยชื่อ แต่ได้เห็นค่อนข้างบ่อยเลย เวลามีคนโพตส์ภาพสัตว์เลี้ยงสวยๆ ในเว็บไซต์ แล้วมีคอมเมนต์เพิ่มใต้ภาพว่า "ถ่ายยังไงก็ไม่เคยชัด..."

มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ภาพไม่ชัด เวลาถ่ายโหมดชัตเตอร์ B แล้วมือสั่น ภาพก็เบลอได้ อย่างเราลองถ่ายภาพในอาคารด้วยฟิล์ม ISO 200 ถ้าไม่มีขาตั้งกล้องภาพออกมาไม่ชัดแน่นอน

วันที่ถ่ายภาพนี้เป็นวันที่มืดครึ้ม แต่ไม่ได้มีฝนตกหรือไม่ถึงกับฟ้ามืด การเลือกใช้ฟิล์ม ISO 400 ก็เป็นตัวเลือกที่เพียงพอที่สามารถถ่ายภาพพื้นผิวของโลหะและคอนกรีตเก่าได้อย่างคมชัดเลยทีเดียว

ถ้าใช้กล้อง SLR คุณก็อาจจะตั้งค่าเพื่อช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ แต่ถ้าคุณใช้กล้องพลาสติก อย่างเช่นกล้อง La Sardina ก็ต้องเลือกฟิล์มที่เหมาะกับสภาพแสงให้ได้มากที่สุด

แล้วคุณจะได้ภาพที่ดีที่สุด

นี่คือตัวอย่างจากฟิล์ม Lomography CN800 ที่ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว ไม่จำเป็นต้องใช้แฟลชภายใต้อาคารที่แสงสลัวเลย ลองสังเกตที่องค์ประกอบจากการโฟกัสดูว่าเสื้อผ้าและเครื่องประดับออกมาคมชัด ไม่สั่น

ฟิล์มทั้งหมดจัดอันดับจากความไวแสงของฟิล์ม (Film speed) แบ่งตามปริมาณแสงที่ต้องการเพื่อให้ได้ภาพออกมาดีที่สุด ยิ่งตัวเลขมากเท่าไหร่ ยิ่งต้องการแสงน้อยลงเท่านั้น

ภาพนี้ใช้ฟิล์ม ISO 100 ซึ่งความเร็วในการจับภาพช้าเกินไป แม้จะตั้งค่าสปีดชัตเตอร์ไว้ที่ 1/60 เพื่อเก็บรายละเอียดก้อนหิน ก็ยังผิดพลาดอยู่ อาจจะเป็นเพราะขาดการตั้งค่าที่รอบคอบและความแม่นยำ

นี่เป็นเคล็ดลับการเลือกใช้ฟิล์มง่ายๆ ที่ทำให้คุณถ่ายภาพได้ดีมากยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง

ISO/ASA 100: กลางแจ้งมีแดด, กลางวันที่ทะเล หรือหิมะตกบนภูเขา
ISO/ASA 200: มืดครึ้ม
ISO/ASA 400: การใช้งานทั่วไป, วันกีฬาสี หรือวันที่ฝนตก
ISO/ASA 800: ตอนเย็น, พระอาทิตย์ตก หรือภายในอาคารโดยใช้แฟลช
ISO/ASA 1600: นี่เริ่มยากขึ้นแล้ว แต่อย่างน้อยๆ ก็สามารถถ่ายภาพงานคอนเสิร์ตร็อค, ไนต์คลับ หรืออื่นๆ ได้โดยไม่ต้องใช้แฟลช

เราได้ยินเสียงคนบ่นอะไรสักอย่างอยู่บ่อยๆ ว่า "แล้วเกรนล่ะ? Delta 3200 หรือ T64 ล่ะ? มันไม่ง่ายอย่างนี้หรอก..." ก็ต้องบอกว่าคุณพูดถูก หลายๆ อย่างอาจจะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับการทดลอง, ประเภทของฟิล์ม, การ cross process, การล้างฟิล์ม, การ push ฟิล์ม, การ pull ฟิล์ม และอื่นๆ อีกมากมาย

แต่ต้องเรียนรู้พื้นฐานก่อน เมื่อคุณเข้าใจคอนเซปต์เรื่องความไวของฟิล์มแล้ว สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เช่น เกรน การใช้ขาตั้งกล้อง และการถ่ายแบบ cross process ต่อไป

ภาพจากฟิล์ม CN800 สังเกตว่าส่วนที่เบลอในภาพกระต่ายใช้ระยะชัดลึก เลยทำให้ภาพหน้าชัดหลังเบลอ แต่ส่วนที่โฟกัสจะคมชัด ไม่สั่นเลย และนี่เป็นภาพถ่ายที่ไม่มีการใช้แฟลชในพิพิธภัณฑ์ที่ไม่มีแสงด้วย!

เขียนโดย adam_g2000 เมื่อ 2022-07-01 ในหมวด #gear #คำแนะนำ

Mentioned Product

Lomography La Sardina

Lomography La Sardina

กล้อง La Sardina กล้องฟิล์มขนาด 35 มม. มีเลนส์มุมกว้างรวมถึงมีปุ่มหมุนกลับฟิล์มเพื่อให้คุณย้อนถ่ายภาพได้ตามต้องการ มีหลายดีไซน์ให้เลือก ลองดูสิ!

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ