Alternative Process Tipster: มาล้างฟิล์มด้วยไวน์แดงกันเถอะ!

สำหรับใครที่อยากจะเรียนรู้วิธีการล้างฟิล์มขาวดำแบบใหม่ๆ วันนี้เรามีสูตรการล้างฟิล์มโดยใช้ไวน์แดงมาฝากกัน บอกเลยว่าผลลัพธ์จะออกมาแบบที่คุณจะไม่เสียดายไวน์เลย โดยรอบนี้เราได้เลือกฟิล์ม Lomography Earl Grey 100 ISO มาสาธิตให้ดูกัน

สิ่งที่คุณต้องเลือกคือไวน์แดงแบบที่ถูกที่สุดเท่าที่จะหาได้ เพราะเราต้องการเพียงแค่กรด Caffeic จากไวน์

ส่วนผสม

ขั้นตอนคร่าวๆ คล้ายกับตอนที่เราเคยล้างฟิล์มโดยใช้กาแฟ แต่ปริมาณส่วนผสมจะต่างกันเล็กน้อย โดยใช้ส่วนผสมหลักๆ 3 อย่างด้วยกัน ซึ่งแต่ละส่วนผสมไม่มีอันตรายต่อผิวหนังของคุณ แต่ถ้าหากผิวหนังของคุณบอบบางเป็นพิเศษหรือไม่ต้องการให้เสื้อผ้าเลอะไวน์แดง (ซึ่งอาจจะทำความสะอาดยากหน่อยหลังจากนั้น) เราขอแนะนำให้ใช้ถุงมือด้วย

  • ไวน์แดง 500 มล.
  • โซดาซักผ้า (โซเดียมคาร์บอเนต ) 50 กรัม
  • วิตามินซี 3 กรัม
  • ตราช่าง
  • ตัวจับเวลา
ส่วนผสมในการล้างฟิล์ม

ขั้นตอนในการล้างฟิล์ม

ความเข้มข้นของคาเฟอีนในไวน์แดงจะต่ำกว่ากาแฟสำเร็จรูป และสารคาเฟอีนมีส่วนช่วยในการล้างฟิล์มให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น เราเลยจำเป้นต้องปรับเวลาให้นานขึ้น โดยจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที

ภาพแสดงขั้นตอนที่ 1-2-3-4

การล้างฟิล์ม

ขั้นตอนแรกเลย คุณต้องม้วนฟิล์มเข้าในรีลโดยต้องทำในที่ที่มืดสนิท จากนั้นใส่รีลลงในแท้งค์ล้างฟิล์มทิ้งไว้ ผสมโซดาซักผ้า วิตามินซีและไวน์เข้าด้วยกันในภาชนะแยก ซึ่งของเหลวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน

ตรวจสอบอุณหภูมิของเหลวให้แน่ใจว่าอยู่ที่ 20°C จากนั้นเทของเหลวลงในแท้งค์ล้างฟิล์ม และเริ่มตั้งเวลาไว้ 45 นาที โดยคุณต้องหมุนหรือพลิกแท้งค์ล้างฟิล์มไปมาทุก 1 นาที พอล้างฟิล์มเสร็จแล้วสามารถทิ้งของเหลวลงท่อระบายน้ำตามปกติได้เลย ไม่มีอันตราย

ล้างฟิล์มรอบที่ 1

เริ่มล้างตัวฟิล์มเนกาทีฟด้วยน้ำไหล ล้างไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำจะเต็มถังอย่างน้อย 3 ครั้ง จากนั้นเตรียมขั้นตอนการ fixing ต่อไป

การ fixing

สำหรับขั้นตอนการ fixing ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของน้ำยาแต่ละยี่ห้อ รอบนี้เราได้ลองใช้ Ilford Rapid Fixer ในอัตราส่วน 1:4 ของน้ำยา Fixer ต่อน้ำ 4 ส่วน โดยขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 5 นาที โดยหมุนหรือเขย่าทุกๆ 30 วินาที ซึ่งปกติแล้วน้ำยา fixer ที่ใช้แล้ว สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก แนะนำว่าให้เก็บไว้ในภาชนะที่มีฉลาก พร้อมวันที่ และชื่อสารละลายกำกับเพื่อการใช้งานที่ปลอดภัย ในกรณีที่เก็บไว้จนหมดอายุ คุณอาจจะส่งต่อให้ร้านล้างฟิล์มที่เชื่อถือได้ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการจัดการน้ำใกล้บ้านคุณ ไม่แนะนำให้ทิ้งลงอ่างน้ำ เพราะมันเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก

ล้างฟิล์มรอบที่ 2

ขั้นตอนสุดท้ายคือการล้างน้ำยา fixer ออก โดยการล้างน้ำผ่านลงไปในแท้งค์ล้างฟิล์มแล้วเทของเหลวด้านในออก

การตากฟิล์ม

ถึงขั้นตอนนี้คุณสามารถเปิดแท้งค์ล้างฟิล์มได้อย่างปลอดภัยเพื่อดูผลลัพธ์แล้ว โดยคุณต้องปล่อยให้ฟิล์มแห้งเองด้วยการตากไว้ข้ามคืน ไม่แนะนำให้เป่าฟิล์มด้วยเครื่องเปล่าลมหรือไดร์เป่าผมเด็ดขาด เพราะฟิล์มยังเปียกอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่ฝุ่นจะมาเกาะตัวเนกาทีฟ

ผลลัพธ์

จากนั้นนำฟิล์มไปสแกนได้เลย โดยผลลัพธ์ที่เห็นจะไม่ผ่านการปรับแต่งใดๆ เพราะอยากเราให้ทุกคนเห็นว่าการล้างฟิล์มด้วยไวน์ทำให้ภาพออกมาเป็นอย่างไรบ้าง ในส่วนของภาพหิมะ จะมีติดคอนทราสต์เล็กน้อยถ้าถ่ายกลางแจ้ง จริงๆ แล้วถ้าล้างด้วยวิธีปกติ ภาพอาจจะคอนทราสต์จัดกว่านี้หน่อย

การล้างฟิล์มด้วยวิธีนี้ใช้เวลา 45 นาที ซึ่งถือว่าค่อนข้างนาน ดังนั้น คุณต้องพิจจารณาให้ดีกว่านี่เป็นวิธีที่เหมาะสมกับฟิล์มของคุณหรือไม่

สารละลายที่ใช้ในการล้างฟิล์มคือกรด Cafeic โดยปกติแล้วผู้ผลิตไวน์จะไม่ได้ติดฉลาดบอกไว้บนขวด เราเลยไม่แน่ใจว่าไวน์ชนิดใดดีที่สุดสำหรับการทดลองครั้งนี้

จากประสบการณ์ ถ้าคุณต้องการล้างฟิล์มด้วยไวน์แดงแล้วอยากได้ภาพที่คอนทราสต์จัด คุณจำเป็นต้องถ่ายภาพกลางแดด เพื่อให้ได้ภาพที่เหมาะสมมากที่สุด

เขียนโดย eparrino เมื่อ 2022-06-08 ในหมวด #คำแนะนำ

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ