คู่มือสำหรับฟิล์ม Lomography Potsdam Kino B&W

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการถ่ายภาพ หรือเป็นช่างภาพมือใหม่ เราบอกเลยว่าฟิล์มตัวนี้เป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่คุณควรจะลอง! สำหรับบทความนี้เราได้ทำขึ้นเป็น Potsdam Kino Cookbook ให้คุณได้เรียนรู้กันไปเป็นสเต็ปว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างกับฟิล์มตัวนี้ ไปดูกันเลย

ภาพโดย Peter Bedrosian

เฉกเช่นเดียวกันกับฟิล์ม Berlin Kino ที่เพิ่งออกมาก่อนหน้า Potsdam Kino ฟิล์มตัวนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากฟิล์มหนังเยอรมันในยุคก่อน โดยภาพที่ได้จากฟิล์มตัวนี้จะให้ความเป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับฟิล์มดั้งเดิม ทั้งในเรื่องความไวต่อสีและแสง รวมถึงสูตรพื้นฐานของฟิล์มที่เต็มไปด้วย silver halide นั่นหมายถึงว่าคุณจะได้ภาพโทนเต็มอิ่ม มี dynamic latitude ที่กว้างซึ่งสามารถนำฟิล์มนี้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย และอีกหนึ่งความพิเศษคือคุณสามารถโปรเสสฟิล์มตัวนี้เป็น reversal ได้ โดยฟิล์ม Potsdam Kino จะให้เกรนที่ละเอียด และเหมาะกับการใช้งานทั้งในสตูดิโอ ถ่ายแลนด์สเคปรวมถึงถ่ายพวกสถาปัตยกรรมต่างๆ

Shooting

ฟิล์ม Potsdam เป็นฟิล์มที่สามารถเก็บสีต่างๆได้ดี นั่นหมายความว่าสามารถเก็บได้แม้แต่แสงที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า โดยภาพที่คุณได้จะออกมาในโทนขาว-ดำแบบคลาสสิค สีต่างๆจะถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของเฉดสีเทาที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับช่วงเวลา วัตถุและสภาพแสงด้วยที่จะส่งผลกับการเก็บรายละเอียดต่างๆ และหากคุณใช้ฟิลเตอร์เข้าช่วยในการถ่ายภาพ เฉดสีที่เกิดขึ้นก็จะเปลี่ยนไปตามฟิลเตอร์สีที่คุณเลือกใช้ ทั้งเพิ่มในเรื่องของคอนทราส ลดความฟุ้ง รวมถึงสามารถเปลี่ยนโทนสีได้ คำแนะนำของเราคือใช้ฟิลเตอร์สีแดงสำหรับการถ่ายแลนด์สเคป และสีเขียวสำหรับการถ่าย Portrait ซึ่งเรามีภาพตัวอย่างให้คุณดูกันผ่านภาพถ่ายด้านล่างนี้

ถ่ายโดยใช้ฟิลเตอร์สี (เรียงจากรูปแรกไปรูปสุดท้าย): Green, Red, Orange, and Blue. ภาพโดย Yoann Leveque, INTOTHELOSTNIGHTS, Ida Tangeraas และPeter Bedrosian

สำหรับช่างภาพแล้วแสงสามารถเป็นได้ทั้งผลดีและผลเสีย แต่ด้วยความที่ฟิล์มตัวนี้มี chromatic range ที่ค่อนข้างกว้างดังนั้น คุณจึงสามารถใช้ ฟิล์ม Potsdam Kino ได้ในสภาพแสงที่หลากหลาย แต่อย่างไรก็ตามหากคุณใช้งานในที่สภาพแสงเป็นทังสเตนหรือฟลูออเรสเซนส์ เราแนะนำให้คุณถ่ายโอเวอร์เพื่อชดเชย tonal range หรือคุณสามารถเปิดแฟลชเพื่อช่วยในการถ่ายภาพของคุณ

ภาพโดย Daniel Schaefer และ INTOTHELOSTNIGHTS

Developing

ได้เวลาสุดมหัศจรรย์แล้ว นี่เป็นช่วงเวลาที่คุณจะได้เห็นภาพที่คุณถ่ายผ่านการล้างด้วยตัวคุณเอง โดยเราได้รวบรวมคู่มือในการล้าง ทั้งในเรื่องของสูตรน้ำยา อุณหภูมิ และอื่นๆมาให้คุณแล้ว มาดูกันว่าน้ำยาแต่ละสูตรจะให้ผลลัพธ์ยังไงกันบ้าง

ล้างโดยน้ำยา Kodak HC-110

Kodak HC-110 เป็นน้ำยาที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยสำหรับน้ำยาตัว HC-110 นี้ คุณจะได้ภาพที่คอนทราสต่ำ เก็บไฮไลท์และเงาได้ดี รวมถึงมีเกรนที่ละเอียด เหมาะกับใครที่อยากให้ภาพดูแบน โดยการล้างวิธีนี้ทำให้ได้ไฟล์ออกมาเหมือนไฟล์ RAW ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้ต่อยอดทำสิ่งอื่นๆได้

ล้างโดยใช้น้ำยา Kodak D-76

น้ำยา Kodak D-76 และ Rodinal เป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับใครที่ต้องการความรวดเร็ว โดยภาพที่ได้จะมีคอนทราสและเกรนที่ชัดเจน เหมาะกับการใช้งานทั่วไป

ล้างโดยใช้น้ำยา Ilford Ilfosol-3

หากคุณต้องการภาพที่ได้เกรนละเอียดและคมชัด เราขอแนะนำเป็นน้ำยา Ilford Ilfosol-3 น้ำยานี้เป็นตัวเลือกที่เหมาะและตรงตามความต้องการของคุณมากที่สุดแล้ว

และนี่คือรายชื่อน้ำยาพร้อมกับเวลาที่แนะนำ:

  • Ilford Ilfosol 3: 1+9 distillation for 6 minutes (20°C)
  • Kodak HC-110: 1+11 distillation for 6 minutes (20°C)
  • Kodak D-76: stock distillation for 5 minutes 30 seconds (20°C)
  • Compard R09: 1+50 distillation for 9 minutes 30 seconds (20°C)

หากน้ำยาที่คุณมีไม่ได้อยู่ในลิสต์นี้ ไม่ต้องกังวลเพราะ ฟิล์ม Potsdam Kino สามารถล้างได้กับน้ำยาอื่นๆ รวมถึงสามารถใช้เทคนิคการล้างอื่นๆได้ โดยสำหรับใครที่มีข้อสงสัยคุณสามารถส่งอีเมลมาหาเราได้ที่ help@lomography.com เราพร้อมจะตอบทุกคำถามของคุณ

สิ่งนึงที่ควรคำนึงถึงในการล้างฟิล์มคือ คุณควรที่จะใช้น้ำยาที่ใหม่อยู่เสมอ เพราะสิ่งนี้มีผลกับภาพของคุณ ทั้งเรื่องของคอนทราส เกรน และอื่นๆ อย่างไรก็ตามเราอยากให้คุณอ่านคู่มือก่อนลงมือทุกครั้ง หรือหากคุณต้องการทดลองอะไรใหม่ๆ นี่เป็นสิ่งที่เราคิดว่าคุณควรรู้! การเขย่าแรงๆจะช่วยให้ภาพของคุณมีคอนทราสที่จัดขึ้น แต่อาจจะให้สูญเสียคุณภาพของภาพเล็กน้อย หรือการเขย่าที่เบาก็จะทำให้คุณได้ภาพที่คมและเก็บรายละเอียดได้มากขึ้นและอาจจต้องใช้ระยะเวลาในการแช่นานกว่าปกติ สุดท้าย การเขย่าที่แรงและเร็วจะทำให้คุณได้เกรนที่เพิ่มมากขึ้น เหมาะกับใครที่อยากได้ภาพฟีลอนาล็อกสุดๆ แต่หากคุณอยากได้เกรนที่ดูสมูทเราแนะนำให้ทำขั้นตอนนี้อย่างระมัดระวัง

หรือหากคุณอยากเพิ่มความสร้างสรรค์มากขึ้น อย่างเช่นภาพนัวๆ เรามีภาพตัวอย่างจากวิธีนี้มาแนะนำกันด้วยล่ะ

HC-110 at distillation G for 65 mins, one agitation at 25mins. Photo by Fauligi

ฟิล์ม Potsdam Kino ได้แรงบันดาลใจมาจากฟิล์มหนังเยอรมันสุดคลาสสิค โดยฟิล์มตัวนี้ให้ภาพที่เป็นเอกลักษณ์ในแบบดั้งเดิม และความพิเศษคือ สามารถล้างเป็นแบบ Positive ได้ เพื่อให้เป็นฟิล์มขาว-ดำ สไลด์

โดยในปัจจุบัน มีข้อดีมากมายในการล้างวิธีนี้ โดยนอกจากจะได้ DMAX ที่สูงแล้ว เวลาสแกนเรายังได้ภาพที่มีคุณภาพเยี่ยมอีกด้วย โดยคุณสามารถล้างวิธีนี้ได้เองที่บ้านหรือแล็ปใกล้คุณ ผ่านการใช้ชุด Rollei Black & White Reversal Kit

Printing

มีหลายๆคนบอกว่าการถ่ายภาพจะเสร็จสมบูรณ์ได้ ต้องมีทั้งการถ่ายภาพและการอัดภาพ ซึ่งเราเห็นด้วยกับความคิดนี้ ดังนั้น เราเลยอยากมาแนะนำคุณให้สัมผัสความเป็นอนาล็อกได้อย่างเต็มที่กับฟิล์ม Potsdam ตัวนี้

ภาพโดย Tsutomu Umezawa

ขยายความมหัศจรรย์จากในห้องมืด สู่ภาพความจริงที่สามารถแบ่งปันให้ใครต่อใครได้ชมกัน ด้วยผลงานการอัดภาพจาก ฟิล์ม Potsdam Kino เพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพถ่ายของคุณด้วยการเลือกกระดาษชนิดต่างๆ โดยสำหรับใครที่ตั้งใจจะอัดภาพอยู่แล้วเราแนะนำให้ใช้น้ำยา Ilford Ilfosol-3

Post Processing

ในบางครั้งการสแกนอาจทำให้ภาพของคุณออกมาไม่เป็นตามที่คุณต้องการ ดังนั้นเราอาจจะต้องมีการแก้ไขอะไรกันบ้าง

ภาพโดย Ida Tangeraas

โดยหากคุณต้องการแก้ไขอะไรเพิ่มเติมที่ภาพถ่ายของคุณจากฟิล์มตัวนี้ อย่างเช่นเพิ่มคอนทราส เฟดสีดำ หรือเพิ่ม clarity เพื่อให้ภาพของคุณดูแพงมากขึ้น สำหรับวิธีล้างเพื่อการนำไปแก้ไขภาพต่อนั้นเราขอแนะนำเป็นน้ำยา Kodak HC-110 เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ลองดูตัวอย่างภาพระหว่างแก้ไขกับไม่แก้ไขตรงนี้กันได้เลย

Unedited: Left; Edited: Right
ภาพโดย Ida Tangeraas

เราหวังว่าคู่มือนี้จะช่วยเหลืออะไรคุณได้บ้างนะ! โดยหากคุณมีข้อสงสัยใดๆสามารถส่งอีเมลมาหาเราได้ที่ help@lomography.com แล้วอย่าลืมอัพโหลดภาพขาว-ดำ ของคุณใส่ใน Lomohome หรือช่องทางโซเชี่ยลมีเดียต่างๆพร้อมติดแฮชแท็ก #heylomography เรารอชมภาพของคุณอยู่นะ

เขียนโดย sameder เมื่อ 2019-01-22 ในหมวด #gear #ข่าวสาร

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ