Petzval Artist: Ham Natdanai

เราเชื่อว่าหลายๆคนต้องได้เห็นมิวสิควิดีโอ Lover Boy และเกิดคำถามกันมากมาย ทั้งคำถามว่า ถ่ายที่ไหน, ใช้เลนส์อะไร รวมถึงนี่เป็นทีมงานต่างชาติมาถ่ายรึเปล่า เพราะภาพที่ได้ออกมานั้น ช่างแตกต่างจากภาพจำจากมิวสิควิดีโอตัวอื่นๆเหลือเกิน วันนี้ เราเลยถือโอกาสมาไขข้อสงสัย และพาคุณไปรู้จักกับช่างภาพผู้อยู่เบื้องหลังของงานชิ้นนี้ แต่! ไม่ได้มีเพียงแค่งานชิ้นนี้ชิ้นเดียวเท่านั้น เรายังมีอีกหนึ่งผลงานจาก Petzval Artist คนนี้ให้ชมกันกับผลงานวิดีโอ Janesuda SS18 ไปทำความรู้จักกับ Petzval Artist คนนี้กันเลย!

  • สวัสดีค่า ก่อนอื่นเลยอยากให้แนะนำตัวหน่อยค่ะ
    - สวัสดีครับ ชื่อ ณัฐดนัย นาคสุวรรณ หรือ แฮม อายุ 24 หน่อยๆฮะ 5555 จบเอกภาพยนตร์และภาพถ่าย คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครับ
  • ตอนนี้ทำอะไรอยู่
    - ตอนนี้เป็นช่างภาพครับ ส่วนมากงานที่ถ่ายก็จะเป็นหนังสั้น music video หรือว่า internet film แหละครับ จริงๆก็คือฝึกวิชาอยู่ฮะ 555555
  • ทำไมถึงสนใจในเลนส์ตัวนี้
    - จากที่ศึกษามาก่อนใช้งาน เข้าใจว่าเลนส์ตัวนี้ค่อนข้างมี character ที่น่าสนใจ และเราเองก็รู้สึกว่า กล้องและเลนส์ดิจิตอลสมัยนี้ มันคมกริบกันมากเกินไป พอเอาเลนส์ตัวนี้มาใส่กับกล้องดิจิตอลแล้ว เรารู้สึกว่ามันกำลังพอดีๆนะ ไม่คมจนเกินไป ไม่ซอฟต์จนเกินไป
  • อธิบายคอนเซปต์เกี่ยวกับงานแต่ละงานที่ใช้เลนส์ตัวนี้หน่อยได้มั้ยคะ
    - ใน 2 งานจากผู้กำกับสองคนนี้ ค่อนข้างจะมี objective ที่ต่างกันครับ อย่าง Janesuda (Directed by พี่จ๋า ภีรตี) จะเป็น fashion film ที่เล่าเรื่องเกี่ยวกับสองนางแบบที่หนีจากโลกความจริงมาใน wonderland ของพวกเขา หลักๆก็คือต้องพยายาม capture อารมณ์เค้าให้ได้แหละ แล้วที่สำคัญก็คือต้องถ่ายให้เห็นเสื้อผ้าด้วย

ส่วน Lover Boy (Directed by จีน คำขวัญ) นี่ก็คือการตามลุ้นตามเอาใจช่วย Phum Viphurit (Artist) ไปในการตามจีบ ตามอ้อร้อสาวคนนึง ไปในเมืองพัทยา ซึ่งโชคดีว่าวันนั้นแสงสวยมาก บวกกับรสนิยมของผู้กำกับเค้าดีมากแหละ การเลือกนักแสดง การกำกับ acting การเลือกสีเสื้อผ้า การตัดต่อ ทุกๆอย่าง พอมาอยู่กับแสงสวยๆแล้ว แค่เราเอากล้องวางเฟรม อะไรๆมันก็ดีไปหมดแล้ว เค้าก็ทำดูง่ายๆนะ แต่จริงๆคือการเลือกใช้สิ่งต่างๆ ในงานเค้าคือ มาจากเซนส์ของเค้า ล้วนๆ (แอบชม)

Lover Boy by Phum Viphurit
  • หน้าที่ของ DP มีอะไรบ้าง (แอบเห็นจากเครดิตที่คุณแฮมโดนแท็กมา ฮ่าๆ)
    - จริงๆคำว่า DP ดูยิ่งใหญ่ไปหน่อยสำหรับเด็กอย่างเรา อย่างถ้าเป็นพี่ๆ ผู้กำกับภาพในวงการ เช่น พี่สอง สยมภู หรือ พี่แดง ชาญกิจ เนี่ย เราว่าเขาเหล่านั้นถึงคู่ควรกับคำนี้ ขอเรียกตัวเองว่า ช่างภาพก่อนละกัน เราถ่ายงานหลายแบบมากๆ ตั้งแต่หนังสั้น หนังทดลองที่ทำเป็น personal project กับเพื่อน จนถึงโฆษณา ก็จะมีวิธีที่ต่างกัน แต่ละงาน หน้าที่ของช่างภาพก็จะต่างกัน
    แต่สำหรับเราหน้าที่ช่างภาพก็คือการตอบสนองความต้องการด้าน visual ของผู้กำกับให้ได้ มี input กับงานได้ แต่เราต้องไม่เอาความต้องการหรือรสนิยมเราไปตีกรอบงาน หรือแทรกแซงจนความคิดตั้งต้นของผู้กำกับนั้นหายไป ควรจะทำให้งานพวกเค้าก้าวข้ามความเป็นเค้าขึ้นไปอีก พูดเวอร์ๆ ก็คือ เราแอบต้องรู้จักตัวตนของผู้กำกับให้มากที่สุด เค้าชอบสีอะไร ชอบดูหนังอะไร ฟังเพลงแบบไหน พูดช้าหรือพูดเร็ว หรืออาจจะต้องเดาข้ามไปอีกขั้นว่า แล้วในอนาคต เค้าจะชอบอะไร อีกอย่างนึงก็คือ การสนับสนุน และ ร่วมด้วยช่วยกันกับทีมงานหรือผู้ร่วมงานของเรา เช่น สมมติว่า Art department เค้ามีข้อจำกัดเรื่อง set ว่ามีพื้นที่จำกัดจริงๆ ซึ่งเราเลือกใช้ขนาดภาพ ระยะเลนส์ หรือการเลือกเปิดรูรับแสงเพื่อช่วยให้ภาพออกมาโอเคขึ้นได้ หรือหากว่าเรามีการทำงานร่วมกับนักแสดง วิธีคิดของเราที่ใช้อยู่เสมอๆ ก็คือ เราไม่ค่อยชอบใช้ Telephoto lens ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เพราะเรารู้สึกว่ามันเป็นการกำจัดพื้นที่ และความคิดสร้างสรรค์ของเขามากจนเกินไป
  • ใช้เลนส์ New Petzval 58 Bokeh Art Control แล้วชอบหรือว่าไม่ชอบอะไรในเลนส์ตัวนี้บ้าง?
    - เราชอบวิธีละลาย background ของเลนส์นะครับ กับ character ของ flare ที่แปลกดี จริงๆ มีเพลทโบเก้อีกหลายๆ แบบมากเลยที่ยังไม่มีเวลาลอง มันเยอะแยะไปหมด ส่วนที่เราไม่ชอบก็คงเป็น พออุปกรณ์เสริมมันมีเยอะมาก แล้วเราก็เลือกไม่ถูก ต้องฝึกใช้เยอะๆ ลองเยอะๆ ถึงจะเลือกเอามาใช้กับงานที่เหมาะสม แล้วก็วิธีปรับรูรับแสงมันแอบยากไปนิดนึง อาจจะเพราะเราเจอแต่งานที่ต้องแข่งกับเวลา แต่ถ้าวันไหนออกไปถ่ายเล่นๆ ถ่ายสนุกๆ ก็คงไม่เป็นไร
  • ฟีดแบ็กผลงานที่ได้รับในแต่ละชิ้นเป็นยังไง
    - Feedback ทั้งสองงานนั้นดีมากนะ มีคนได้เห็นงานเรามากขึ้น มีช่างภาพจากต่างประเทศ direct message มาถามก็มี ว่าถ่ายยังไง ใช้เลนส์อะไร รวมถึงทำให้มีโอกาสไปสู่งานอื่นๆ มากขึ้นด้วย
  • แล้วมีเทคนิคอะไรที่ใช้กับงานแล้วอยากแนะนำกับคนอ่านบ้างมั้ย
    - จริงๆคนอาจจะคิดว่าเลนส์นี้ มี character แค่ bokeh กับ flare แต่จริงๆวิธีการละลายหลังในฉากก็ค่อนข้างน่าสนใจมาก ยิ่งไปเจอ background ดีๆ บางทีมันก็ให้ความรู้สึกเหมือนภาพสีน้ำมันเหมือนกัน
  • ขอคำแนะนำให้กับคนที่สนใจในเลนส์ตัวนี้หน่อย
    - ควรจะไปลองใช้ก่อนครับ แล้วก็อ่านรีวิวเยอะๆ ทำความรู้จักกับเลนส์ตัวนี้ก่อน ถ้าชอบก็ลุยเลยฮะ เพราะจริงๆ การหาเลนส์ character แปลกๆ ที่คนไม่ค่อยใช้กัน ก็ทำให้งานเราแตกต่างออกมาจากคนอื่นเหมือนกัน
  • สุดท้ายแล้ว บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับโปรเจกต์ต่อไปที่จะทำ (หรือว่าอยากทำ) หน่อยได้มั้ยคะ?
    - อาจจะได้รับโอกาสถ่าย feature film เรื่องแรกในต้นๆปีหน้ามั้งครับ หวังว่าจะไม่มีอะไรคลาดเคลื่อน ยังไงก็เป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ของชีวิตมากๆครับตอนนี้ : )
ภาพประกอบเบื้องหลังจากผลงานชิ้นล่าสุดของคุณแฮม

ขอบคุณแฮมมากๆที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์การใช้งานเลนส์ New Petzval 58 Bokeh Art Control กับเราในครั้งนี้ สำหรับใครที่สนใจอยากติดตามชมผลงานอื่นๆของแฮมในอนาคตก็สามารถเข้าไปตามชมกันได้ใน Vimeo และ Facebook


เลนส์ New Petzval 58 Bokeh Art Control เลนส์ที่ให้อิสระคุณในการปรับหมุนโบเก้ได้ถึง 7 ระดับ ซึ่งคุณสามารถค้นพบความสวยงามจากเลนส์ตัวนี้ได้ด้วยการผสมผสานระหว่างการควบคุมโบเก้และระดับรูรับแสงในแบบที่คุณชอบเพื่อให้ได้เอฟเฟกต์โบเก้ในแบบที่ต้องการ สามารถเป็นเจ้าของเลนส์ตัวนี้ได้แล้ววันนี้ที่ มีจำหน่ายแล้ววันนี้ที่ร้านออนไลน์ของเรา ในราคา 28,050 บาท*(สีทอง) โดยราคานี้เป็นราคาโอนเงินรวมทุกอย่างแล้วสำหรับการจัดส่งแบบเหมาเคลียร์ภาษี(Drop Shipping) หากคุณใช้บัตรเครดิต/บัตรเดบิต หรือบัญชี Paypal ราคาจะขึ้นอยู่กับเรทค่าเงินของวันนั้นๆ

เขียนโดย dnimdnim เมื่อ 2018-05-31 ในหมวด #วิดีโอ #bokeh #ham #lomoamigo #petzval-artist #petzval58 #natdanai

New Petzval 58 Bokeh Control Art Lens

การคิดค้นเลนส์ถ่ายภาพบุคคล เริ่มขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 19 โดย Joseph Petzval เราได้นำกลับมาพัฒนาใหม่ให้สามารถใช้งานได้กับกล้องอนาล็อกและกล้องดิจิทัล SLR ในยุคปัจจุบัน ซึ่งมาพร้อมกับวงแหวนควบคุมโบเก้สำหรับการทดลองที่สนุกมากกว่าที่เคย

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ