เคล็ดลับเล็ก ๆ น้อยๆ ในการถ่ายภาพพอร์ทเทรต

บทความนี้จะช่วยคนที่ต้องการรู้ถึงเคล็ดลับและเทคนิคในการถ่ายภาพพอร์ทเทรต และทำให้มันน่าสนใจมากขึ้น

เครดิต: anird

การถ่ายภาพพอร์ทเทรตนั้นมีมานานเกินกว่าที่พวกเราจะจินตนาการได้ เอ่อ…ฉันหมายถึงก่อนที่จะมีการคิดค้นกล้องถ่ายภาพด้วยซ้ำ Rembrandt นั้นเป็นจิตรกรระดับสุดยอดในการวาดภาพพอร์ทเทรต และเป็นหนึ่งในจิตรกรที่โดดเด่นในช่วงยุคเรเนสซอง และหวังว่าคุณคงไม่ลืมภาพพอร์ทเทรตที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลอย่าง “โมนาลิซา” หรอกนะ

ตอนนี้มาดูว่าอะไรคือความสัมพันธ์ที่เคล็ดลับนี้บอกกับคุณ? ส่วนมากเป็นความจริงและแนวทางที่มีมาตั้งนานแล้ว และสิ่งที่คุณจะได้อ่านต่อไปนี้ คือการตีความแบบอนาล็อกสำหรับการถ่ายภาพพอร์ทเทรต

1. ไม่ถ่ายภาพในระดับสายตา: ในขณะที่มันเป็นเรื่องปกติในการถ่ายภาพพอร์ทเทรตที่ระดับสายตาของตัวแบบ แต่การเปลี่ยนมุมมองในการถ่ายภาพได้อย่างดีเยี่ยม จะทำให้ภาพของคุณดูมีพลังขึ้นมาทันที

คุณสามารถขึ้นไปอยู่ในที่สูงกว่าแล้วถ่ายลงมา หรือเอาตัวแนบกับพื้นด้านล่างแล้วถ่ายขึ้นไปแทนก็ได้

2. เล่นกับการส่งสายตาของตัวแบบ: ว่ากันว่าดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ และทิศทางในการมองจากสายตาของตัวแบบนั้น ทำให้เกิดผลที่สำคัญกับภาพได้ นอกเหนือจากการให้ตัวแบบมองมาที่เลนส์ โดยเรายังสามารถหาวัตถุบางสิ่งมาดึงความสนใจของตัวแบบไปจากกล้องได้ ซึ่งมันเป็นตัวช่วยหนึ่งในการสร้างบรรยากาศการถ่ายภาพ

หรือจะเป็นการที่ตัวแบบมองไปยังบางสิ่งหรือบางคนในภาพเดียวกันก็ได้ มันเป็นการสร้างสรรค์จุดน่าสนใจขึ้นอีกจุดหนึ่ง และเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมันกับตัวแบบหลักของคุณ นอกจากนี้มันยังช่วยเพิ่มเรื่องราวให้กับภาพถ่ายของคุณ

เครดิต: anird

3. เล่นกับแสง: แสงมักถูกใช้ในการสร้างอารมณ์, ใช้เป็นแสงหลังในการถ่ายย้อนแสงและสร้างภาพเงาเพื่อซ่อนตัวแบบเอาไว้ ซึ่งมันก็ช่วยสร้างภาพให้โดดเด่นดูมีพลังได้

เครดิต: yami

4. จำกฎข้อที่ 6 เอาไว้: บางครั้งภาพถ่ายที่ถูกจัดท่าทางไว้ก็ออกมาค่อนข้าง…ดูดี แต่บางคนอาจจะดูไม่ดีเมื่อถูกถ่ายภาพตามที่จัดท่าทางไว้ และอาจจะต้องเปลี่ยนไปถ่ายแบบทีเผลอแทนซึ่งมันอาจจะเหมาะกว่า

5. เพิ่มพรอพ: เพิ่มพรอพบางอย่างให้กับภาพของคุณ มันจะช่วยเพิ่มจุดน่าสนที่ช่วยให้ภาพคุณดูดีขึ้น

เครดิต: anird

6. เน้นไปที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย: ถ่ายภาพให้ใกล้มากขึ้นที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของตัวแบบ บางครั้งอะไรที่หลุดออกจากภาพอาจมีความหมายกว่าภาพก็ได้

เครดิต: pregrino_george

7. ตำแหน่งของตัวแบบ: การวางตำแหน่งของตัวแบบที่ดีจะช่วยดึงดูดสายตาสู่จุดน่าสนใจในภาพ

เครดิต: aalper

8. ฉากหลัง: แม้ว่าคนจะเป็นจุดน่าสนใจหลักของภาพพอร์ทเทรต บางครั้งการวางพวกเขาในบริบทที่ต่างกัน และฉากหลังที่แตกต่างกันก็สามารถเปลี่ยนอารมณ์ให้กับภาพได้ แต่ในบางครั้งคุณก็อาจจะต้องการฉากหลังที่เรียบง่ายสุด ๆ ก็เป็นได้

9. ลักษณะท่าทาง: การทดลองให้ตัวแบบแสดงท่าทางในแบบที่ต่างกัน ก็อาจจะทำให้ภาพมีความน่าสนใจไปอีกแบบก็ได้

เครดิต: anird

ขอบคุณผู้ที่เอื้อเฟื้อภาพเหล่านี้ mikahsupageek, aalper, whynotwinnipeg, yami, pregrino_george, mugeyildiz, และ anird

เขียนโดย anird เมื่อ 2012-08-15 ในหมวด #gear #คำแนะนำ #art #challenge #color #india #tipster #lomography #portraits #ideas #cityslicker

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ