เทคนิคทำภาพแบบ Negative กับ Lomo LC-A Instant Back+ โดย Mandi

นี่คือเทคนิคสุดเจ๋ง ที่จะเพิ่มความสนุกของการถ่าย Instant จาก LC-A ให้มากขึ้น Mandi หัวหน้าประจำ Film Lab Rat ของเรา จะแสดงให้คุณดูถึงวิธีการทำเอฟเฟ็กต์ Negative บนภาพ Instant ของคุณ… มาเริ่มกันเลยดีกว่า!

แปลโดย montw_lingdum

  1. เตรียม Lomo LC-A Instant Back+ ของคุณให้พร้อม!
  2. ติดแฟลชกับกล้อง Lomo LC-A+ (หรือ Lomo LC-A รุ่นเก่า), ตั้งกล้องให้มีระยะถ่ายใกล้ที่สุด และถ่ายอะไรก็ตามที่อยู่หน้าเลนส์ของคุณ
  3. กดออก หวังว่าภาพจะออกมามีส่วนคล้ายฟิล์ม Negative แต่มีการเพิ่มสีสันด้วย Color Flash!

สถานที่มืดสลัวไม่มีผลอะไรมาก สถานที่สว่างมากก็อาจจะทำให้กลายเป็นมืดถ้าเข้าใกล้เกินไป ตัวแฟลชเองก็จะสะท้อนแสงจากวัตถุที่มีพื้นขัดเงา หรือแสงแดดก็จะกลายเป็นจุดดำ (สิ่งเหล่านี้คุณอาจเห็นจากภาพ Instant มาบ้างแล้ว) ถ้าคุณอยู่ระยะจากห่างวัตถุเกินไป หรือแฟลชอ่อนเกินไป คุณจะได้ภาพสีธรรมดา “ภาพที่ได้รับแสงพอดี ปกติ” หรือภาพขาวนั้นเอง

สิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ภาพถูกบันทึกในแบบพิเศษ คุณถึงจะได้ภาพแบบ Positive เวลาที่คุณถ่ายภาพแบบ Instant ก่อนอื่นมันจะบันทึกเหมือนที่ฟิล์ม Negative ทั่วไปบันทึก ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนประกอบ 3 ชั้น คือส่วนที่ไวแสงสีฟ้า เขียว และแดง แต่มันจะมีอีกชั้นที่เป็นชั้นของสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับชั้นไวแสงและก่อให้เกิดสีสัน (รูปภาพ) เรียกว่า Dye สำหรับชั้นทั้ง 3 ดังที่กล่าวมา dye ที่มีสีเหลืองจะสำหรับชั้นไวแสงสีฟ้า dye ที่มีสีแดงอมม่วง (magenta) จะสำหรับชั้นไวแสงสีเขียว ส่วน dye ที่มีสีฟ้าอ่อน (cyan) จะสำหรับสีแดง

ทันทีที่กดปุ่มปล่อยภาพ ขั้นตอนการล้างแบบ Instant ก็เกิดขึ้น เมื่อส่วนของชั้นไวแสงโดนแสง มันจะป้องกันชั้น dye ที่อยู่กับชั้นไวแสงแต่ละอันเหล่านั้น ไม่ให้เข้าไปในส่วนที่แสดงผลของภาพ (คือส่วนที่เราเห็นเป็นภาพเวลาภาพถูกปล่อยออกมา)

ตรงกันข้าม ในส่วนที่ไม่ได้รับแสง dye จะซึมเข้าไปในส่วนแสดงผลของภาพ หมายความว่า ถ้าในส่วนของภาพมีสีฟ้า ชั้นไวแสงสีฟ้าของฟิล์มจะถูกรับแสงและป้องกันไม่ให้ dye สีเหลืองซึมเข้าไป แต่ในอีกสองส่วนที่ไม่ได้มีสีฟ้า dye สี cyan และ magenta จะซึมเข้าไป และถ้าคุณผสมสี Cyan กับ Magenta ด้วยกัน… ใช่แล้วคุณจะได้สีฟ้า (นี่แหละความน่าพิศวงของทฤษฎีแสงและสี มันมีอีกมากมายที่อธิบายได้ แต่มันเริ่มจะน่าเบื่อแล้วล่ะ) ;)

ทฤษฎีของฉัน:
เนื่องจากถ้าฟิล์มโดนรับแสงเกินอย่างรุนแรง ชั้นไวแสงในฟิล์มจะเปลี่ยนตัวเองจากการป้องกันไม่ให้ dye ซึมเข้าไป กลายเป็นปล่อยให้ dye ซึมเข้าไปอย่างเต็มที่ ลองให้ฉันยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ มีผู้ชายคนหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ดูแลถังที่เต็มไปด้วยสีเหลือง เมืื่อเขาได้สัญญานว่า “เทได้” เขาก็จะทำการเทสีเหลือง ยิ่งเทน้อยสีฟ้าก็จะออกสีสันมากขึ้น แต่ถ้าสีเหลืองมาก สีฟ้าก็จะมีสีสันน้อยลงไป แล้วถ้าเกิดมีช่างภาพ Lomography เอาแฟลชมายิงใส่ตาชายคนนี้ ทำให้ชายคนนี้ตกใจ และทำให้เขาพลาดทำถังสีตกและกลัวหนีไป

ถ้ามีใครมีประสบการณ์ที่ลำ้ลึกเข้าถึงหลักการวิทยาศาสตร์ขั้นสูง และมีคำอธิบายที่ดีในเรื่องนี้ละก็ อย่าลืมมาเล่าให้ฉันฟังล่ะ!

2010-05-05 #gear #คำแนะนำ #tipster #lomo-lc-a #lc-a-back # #

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ