คู่มือการล้างฟิล์ม: Lomography Berlin Kino 400

เราชอบที่จะเก็บภาพความทรงจำที่มีค่าของคุณผ่านภาพถ่าย ซึ่งภาพเหล่านั้นจะเป็นผลงานชิ้นเอกที่ช่วยสร้างเรื่องราวที่งดงามเหนือกาลเวลาได้ (: เราจึงอยากจะบอกทุกสิ่งทุกอย่างให้เข้าใจ ก่อนที่คุณจะซื้อ ฟิล์ม Lomography Berlin Kino B&W 400 35 mm รุ่นปี 2019 ตั้งแต่เทคนิคการถ่ายภาพ ทั้งกลางแจ้งและตอนกลางคืน ไปจนถึงคำแนะนำเกี่ยวกับ post-processing ด้วย รับรองว่าถ้าได้อ่านแล้วลองทำตาม ภาพของคุณจะออกมาโดดเด่นแน่นอน~

ภาพโดย: Charlotte Rea

การถ่ายภาพ

แนะนำว่าให้ลองใช้พวกตัวฟิลเตอร์ร่วมกับการถ่ายภาพฟิล์มด้วย การเลือกก็แล้วแต่ฉาก เนื้อเรื่อง หรือความเป็นเอกลักษณ์ที่ต้องการของคุณได้เลย ตัวฟิลเตอร์ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ภ่พของคุณอาร์๖ขึ้น และสื่อสารเรื่องราวได้ตาที่คุณต้องการได้มากขึ้นอีกด้วย

ภาพโดย: Charlotte Rea, sunny_liu, Daniel Jay Bertner, Pauline Goasmat, และ Trevor Lee

การจำกัดสีที่ไม่ต้องการให้ผ่านเลนส์ สามารถช่วยให้ภาพคอนทราสจัดมากขึ้น และเพื่อให้คุณเห็นภาพมากขึ้น เราได้สร้างตัวอย่างภาพที่เราได้ทดลองโดยใช้ฟิลเตอร์ที่หลากหลายมาให้ได้ชมกัน

ฟิลเตอร์ (เริ่มจากรูปแรก - รูปสุดท้าย): สีส้ม, สีฟ้า, สีเขียว, สีแดง และสีเหลือง ซึ่งถ่ายโดย: Axel Guelcher, Jimmy Cheng, sunny_liu และ Marie Yako

เมื่อพระอาทิตย์ตกดินหรือสงหมด การถ่ายภาพในที่มืด ถือว่าท้าทายมาก! ยิ่งถ้าไม่มีแฟลชหรือเลนส์ที่โฟกัสได้เร็วๆก็ยากพอสมควรเลย แต่ไม่ต้องกังวลไป ก็เหมือนเมืองเบอร์ลินที่มไ่มีวันหลับไหล ฟิล์ม Berlin Kino ก็เช่นกัน เพราะสามารถ push เพิ่มไปจนถึง ISO 800, 1600 และ 3200 ในขณะที่ภาพยังคงความคมชัดและคอนทราสจัดอยู่แบบไร้ที่ติ เพียงแค่ตั้งค่า ISO ของกล้องให้ push ตามต้องการ และถ่ายได้เลย! สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนนี้ ดูเพิ่มได้ที่หัวข้อ 'การล้างฟิล์ม'

ภาพโดย: Edvinas Valikonis, Marilena Vlachopoulou, และ Trevor Lee

การล้างฟิล์ม

หนึ่งในแง่มุมการถ่ายภาพขาวดำก็คือการที่เราสามารถสร้างสรรค์ภาพได้อย่างไม่มีขีดจำกัดจาก*การล้างฟิล์ม* และถ้าคุณต้องการส่งไปล้างที่แล็บล้าง เราขอแนะนำให้ล้างที่ ISO 400 (27°C) แต่จริงๆแล้วเพื่อความยืดหยุ่นและประสบการณ์สนุกๆ ลองล้างดูที่บ้านก็ดีนะ (:

เราได้รวบรวมรายชื่อน้ำยา developers ที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับใช้กับฟิล์มตัวนี้

Kodak HC-110 คือหนึ่งในตัวที่ดีที่สุดสำหรับฟิล์มขาวดำ ภาพจะออกมาคอนทราสน้อยๆ ช่วงไดนามิกดี เกรนละเอียดดี เหมาะมากสำหรับคนที่จะเอาไปทำ post-process ต่อหรืออัดขยายภาพ เพราะสามารถเก็บรายละเอียดได้ดี

Kodak HC-110: การกลั่น B (1+31) ประมาณ 8 นาที 7 วินาที (20°C)

หากคุณต้องการความคมชัดสูง แนะนำให้ใช้ Ilford Ilfosol-3 เพราะภาพจะออกมาเกรนละเอียดและคมชัดมากๆ เหมาะกับการขยายและพิมพ์ภาพ ในขณะเดียวกันคอนทราสออกมาค่อนข้างสวยและเงามีรายละเอียดที่ดี

Ilford Ilfosol 3: การกลั่น 1+9 ประมาณ 8 นาที 45 วินาที (20°C)

น้ำยา developer สุดคลาสสิค 2 ตัวนี้ มีเหมือนกันคือคอนทราสที่ดีและเก็บรายละเอียดได้ครบ ถือว่าเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วๆไป

Kodak D-76: การกลั่นในสต็อก ประมาณ 12 นาที (20°C)
เปรียบเทียบกับ การกลั่น R 09 1+50 distillation ประมาณ 17 นาที 30 วินาที (20°C)

และพิเศษมากขึ้น เพราะฟิล์ม Berlin Kino film ไม่จำเป็นต้องถ่ายเพราะในที่กลางแจ้งเท่านั้น คูรสามารถ*push* ให้ฟิล์มได้ถึง ISO 800, 1600 หรือ 3,200 ได้ ในขณะที่ภาพยังคงเก็บรายละเอียดและโทนสีที่สมดุล และมีเกรนที่งดงามได้ ซึ่งืำใหการถ่านตอนกลางคืนท้าทายและสนุกมากกว่าเดิม!

อย่าลืมบอกแล็บที่คุณจะส่งฟิล์มไปล้างด้วยนะว่าต้องการ push กี่ stop และถ้าคุณล้างฟิล์มเองที่บ้าน เราขอแนะนำ Tetenal Balancing Developer ซึ่งมารูปแบบผง ออกมาแบบมาให้คุณสามารถ push ได้โดยที่เกรนยังสวยงามอยู่

  • +1 Stop: 12 minutes at 22°C
  • +2 Stops: 15 minutes at 22°C
  • +3 Stops: 18 minutes at 22°C
Tetenal Developer, อุณหภูมิ 22° C, Normal stop
Tetenal Developer, อุณหภูมิ at 22° C, Pushed +1 stop ที่ 12 นาที
Tetenal Developer, อุณหภูมิ 22° C, Pushed +2 stops ที่ 15 นาที
Tetenal Developer, อุณหภูมิ 22° C, Pushed +3 stops ที่ 18 นาที

เข้าห้องมืด

ฟิล์ม Berlin Kino ทำให้เรานึกถึงห้องมืด นึกการแช่ภาพในน้ำและแสงสีแดง ด้วยไดนามิกที่ดึงดูดงมากๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อล้างด้วย Kodak HC-110 หรือ Xtol) ภาพออกมาจะเหมาะมากกับการเอาไปปริ้นท์ด้วยไฟล์คุณภาพสูง

ลองเลือกฟิลเตอร์ต่างๆเพื่อทำให้มู้ดภาพของคุณสมบูรณ์ที่สุด (: เราได้ลองปริ้นท์ภาพออกมาดู และบอกได้เลยว่าออกมาดีมาก! ถ้าอยากลองทำดู เข้าไปศึกษาเพิ่มเติมในบทความ setting up and using your darkroom ได้เลยยย

กระบวนการ Post-processing

และถ้าเป็น ห้องมืดแบบ Digital' หล่ะ! เราใช้กฎแบบเเดียวกันเลยนะ เมื่อเราล้างและสแกนปกติแล้ว ฟิล์ม Berlin Kino จะได้ออกมาเป็นไฟล์ flat สวยงาม คล้ายๆกับ D-log หรือภาพ RAW ซึ่งหมายความว่าภาพจะรักษาพวกไดนามิกและโทนได้ดีกว่าฟิล์ม negative แบบเดิมๆที่คอนทราสจัดกว่า แถมยังเก็บรายละเอียด ไฮไลท์ และเงาในภาพได้ดี คุณสามารถแก้ไขภาพที่ over และโทนสีให้สวยยิ่งขึ้นได้ โดย editing suite

รูปที่ยังไม่ได้ Edit:ซ้าย
ภาพโดย: kwokhalil

มาสร้างสรรค์ภาพถ่ายของคุณจากฟิล์มตัวนี้กัน! (:


เราหวังว่าคุณจะเอ็นจอยกับการอ่าน Berlin Kino Cookbook! และเรารอไม่ไหวแล้วที่จะได้เห็นผลงานของคุณ ~ อัปโลหดภาพขาวดำของคุณได้ที่ Lomohome หรือแชร์ลงแบบ social media พร้อมติด #heylomography ก็ได้น้าา

เขียนโดย sameder เมื่อ 2019-10-11 ในหมวด #gear #คำแนะนำ

Mentioned Product

Lomography Berlin Kino 400 ISO

Lomography Berlin Kino 400 ISO

เก็บภาพความทรงจำอันล้ำค่าของคุณด้วยฟิล์มขาวดำที่ให้อารมณ์เหมือนฟิล์มหนังตัวนี้

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ